“เศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนเมษายนขยายตัวดี ทั้งภาคการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคก่อสร้าง ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ระดับต่ำ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรยังเป็นแหล่งการจ้างงานที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรเริ่มฟื้นตัว สำหรับการค้าต่างประเทศ การนำเข้ายังคงขยายตัวสูง โดยเฉพาะในสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าทุนที่ขยายตัวตามการบริโภคและการลงทุน อย่างไรก็ตามเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง”
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนเมษายน 2548 ดังนี้
ภาวะการจ้างงานยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน อัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 534.9 พันตำแหน่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานเดือนเมษายนยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ภาคการเกษตรพบว่าผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในหลายจังหวัดลดความรุนแรงลง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นกระตุ้นความต้องการแรงงานทำการเกษตรเพิ่มขึ้น โดยในเดือนเมษายน การจ้างงานภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 0.7 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 4.3 เนื่องจากภาวะภัยแล้งเริ่มลดความรุนแรงลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นจูงใจให้ความต้องการแรงงานภาคเกษตรเพื่อทำการเกษตรขยายตัว
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ในอัตราที่ชะลอตัวลงตามการใช้แรงงานเพื่อการผลิตที่ลดลง เนื่องจากมีช่วงวันหยุดติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในเทศกาลสงกรานต์
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนภาคก่อสร้างที่ขยายตัวดีซึ่งสร้างอุปสงค์ต่อการจ้างงาน และวัสดุก่อสร้าง โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อน สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างในเดือนมีนาคมยังขยายตัวสูงที่ร้อยละ 17.3 ต่อปี ตามการขยายตัวที่อยู่ในระดับสูงของอุปสงค์ของภาคก่อสร้าง
ภาคการค้ามีการขยายตัวสูงขึ้น โดยการจ้างงานในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีชี้ภาวะการค้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายในประเทศในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวของการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวดี
ภาคการโรงแรมเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ผลกระทบจาก Tsunami และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ลดลงจากปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 596,100 คน ลดลงร้อยละ 4.8 ขณะที่อัตราการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี อย่างไรก็ตามคาดว่าภาวะการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นจากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ และเป็นส่วนสำคัญในการบรรเทาการขาดดุลการค้า และลดแรงกดดันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้
การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 19.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.1 ในเดือนก่อน สะท้อนการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องซึ่งช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่ใช้กำลังการผลิตเต็มศักยภาพ เช่น ปิโตรเลียม ได้ปรับปรุงศักยภาพการผลิต (Debottleneck)
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,240.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยขยายตัวสูงในกลุ่มยานยนต์ กลุ่มพลาสติก และกลุ่มเครื่องจักร ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,790.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.1 ต่อปี โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูงยังเป็นกลุ่มวัตถุดิบ และสินค้าทุน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เหล็ก และเครื่องจักรกล ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนเมษายนขาดดุลทั้งสิ้น 1,549 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 3.5 ในเดือนเมษายน เป็นผลส่วนใหญ่จากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.3 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.8 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 49.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 5.4 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือ 4.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เพิ่มขึ้นจาก 48.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนก่อน
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 8/2548 30 พฤษภาคม 2548--
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนเมษายน 2548 ดังนี้
ภาวะการจ้างงานยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนเมษายน อัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 534.9 พันตำแหน่ง หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานเดือนเมษายนยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ภาคการเกษตรพบว่าผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในหลายจังหวัดลดความรุนแรงลง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นกระตุ้นความต้องการแรงงานทำการเกษตรเพิ่มขึ้น โดยในเดือนเมษายน การจ้างงานภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 0.7 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 4.3 เนื่องจากภาวะภัยแล้งเริ่มลดความรุนแรงลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นจูงใจให้ความต้องการแรงงานภาคเกษตรเพื่อทำการเกษตรขยายตัว
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ในอัตราที่ชะลอตัวลงตามการใช้แรงงานเพื่อการผลิตที่ลดลง เนื่องจากมีช่วงวันหยุดติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในเทศกาลสงกรานต์
การจ้างงานในภาคการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนภาคก่อสร้างที่ขยายตัวดีซึ่งสร้างอุปสงค์ต่อการจ้างงาน และวัสดุก่อสร้าง โดยอัตราการจ้างงานใหม่ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อน สอดคล้องกับผลผลิตอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างในเดือนมีนาคมยังขยายตัวสูงที่ร้อยละ 17.3 ต่อปี ตามการขยายตัวที่อยู่ในระดับสูงของอุปสงค์ของภาคก่อสร้าง
ภาคการค้ามีการขยายตัวสูงขึ้น โดยการจ้างงานในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีชี้ภาวะการค้า โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายในประเทศในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวของการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวดี
ภาคการโรงแรมเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ผลกระทบจาก Tsunami และความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ลดลงจากปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพมีจำนวน 596,100 คน ลดลงร้อยละ 4.8 ขณะที่อัตราการจ้างงานภาคการโรงแรมในเดือนเมษายนหดตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี อย่างไรก็ตามคาดว่าภาวะการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นจากนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ และเป็นส่วนสำคัญในการบรรเทาการขาดดุลการค้า และลดแรงกดดันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้
การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักรยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงกำลังการผลิต โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 19.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.1 ในเดือนก่อน สะท้อนการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องซึ่งช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่ใช้กำลังการผลิตเต็มศักยภาพ เช่น ปิโตรเลียม ได้ปรับปรุงศักยภาพการผลิต (Debottleneck)
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนเมษายน มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 8,240.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยขยายตัวสูงในกลุ่มยานยนต์ กลุ่มพลาสติก และกลุ่มเครื่องจักร ขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,790.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.1 ต่อปี โดยกลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัวสูงยังเป็นกลุ่มวัตถุดิบ และสินค้าทุน ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เหล็ก และเครื่องจักรกล ส่งผลให้ดุลการค้าประจำเดือนเมษายนขาดดุลทั้งสิ้น 1,549 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 3.5 ในเดือนเมษายน เป็นผลส่วนใหญ่จากราคาสินค้าหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.3 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.8 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
เสถียรภาพทางต่างประเทศยังอยู่ระดับที่น่าพอใจ โดยทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 49.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 5.4 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือ 4.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น เพิ่มขึ้นจาก 48.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนก่อน
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 8/2548 30 พฤษภาคม 2548--