กรุงเทพ--9 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 9 กันยายน 2549 ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐทาจิกิสถานอย่างเป็นทางการ (Official Visit) การเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเอโมมาลี ราคโมนอฟ (Emomali Rahmonov) แห่งทาจิกิสถาน ระหว่างวันที่ 8-13 สิงหาคม 2548 ตามคำเชิญของประธานาธิบดี ทาจิกิสถาน
การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนสาธารณรัฐทาจิกิสถานครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทาจิกิสถานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นแล้ว จะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกัน ได้แก่ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พลังงาน วิชาการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2535 ความสัมพันธ์
ระหว่างไทยและทาจิกิสถานได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ ทาจิกิสถานได้เข้าเป็นสมาชิก ACD (Asia Cooperation Dialogue) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และไทยเป็นสมาชิก CICA (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในเอเชีย โดยคาซัคสถานเป็นผู้ก่อตั้งและทาจิกิสถานร่วมเป็นสมาชิก
สาธารณรัฐทาจิกิสถานเป็นหนึ่งในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่มีสภาพภูมิประเทศส่วน
ใหญ่เป็นภูเขา ไม่มีทางออกทะเล มีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ พลังงานน้ำ ฝ้ายและสินแร่ต่างๆ รายได้หลักของประเทศ คือ การส่งออกฝ้าย อะลูมิเนียมและไฟฟ้าพลังน้ำ
ทาจิกิสถานเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นิกายสุหนี่ มีอารยธรรมเก่าแก่
มากกว่า 4,000 ปี ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมเชื่อมการค้าระหว่างเอเชียและยุโรปในอดีต และปรากฎร่องรอยอารยธรรมของศาสนาพุทธในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ทาจิกิสถานเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง (สมัยใกล้เคียงกับพระพุทธรูป บามิยันในอัฟกานิสถานที่ถูกทำลายไป) มีความยาว 13 เมตร สูง 2.85 เมตร อายุราว 1,400 ปี ซึ่งทางการทาจิกิสถานได้ค้นพบเมื่อปี 2502 (ค.ศ.1959) และได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์และประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณแห่งชาติ (National Museum of Antiquities) กรุงดูชานเบ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ในวันที่ 9 กันยายน 2549 ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐทาจิกิสถานอย่างเป็นทางการ (Official Visit) การเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเอโมมาลี ราคโมนอฟ (Emomali Rahmonov) แห่งทาจิกิสถาน ระหว่างวันที่ 8-13 สิงหาคม 2548 ตามคำเชิญของประธานาธิบดี ทาจิกิสถาน
การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนสาธารณรัฐทาจิกิสถานครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทาจิกิสถานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นแล้ว จะมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกัน ได้แก่ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พลังงาน วิชาการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2535 ความสัมพันธ์
ระหว่างไทยและทาจิกิสถานได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ ทาจิกิสถานได้เข้าเป็นสมาชิก ACD (Asia Cooperation Dialogue) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และไทยเป็นสมาชิก CICA (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในเอเชีย โดยคาซัคสถานเป็นผู้ก่อตั้งและทาจิกิสถานร่วมเป็นสมาชิก
สาธารณรัฐทาจิกิสถานเป็นหนึ่งในประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่มีสภาพภูมิประเทศส่วน
ใหญ่เป็นภูเขา ไม่มีทางออกทะเล มีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ พลังงานน้ำ ฝ้ายและสินแร่ต่างๆ รายได้หลักของประเทศ คือ การส่งออกฝ้าย อะลูมิเนียมและไฟฟ้าพลังน้ำ
ทาจิกิสถานเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม นิกายสุหนี่ มีอารยธรรมเก่าแก่
มากกว่า 4,000 ปี ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมเชื่อมการค้าระหว่างเอเชียและยุโรปในอดีต และปรากฎร่องรอยอารยธรรมของศาสนาพุทธในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ทาจิกิสถานเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง (สมัยใกล้เคียงกับพระพุทธรูป บามิยันในอัฟกานิสถานที่ถูกทำลายไป) มีความยาว 13 เมตร สูง 2.85 เมตร อายุราว 1,400 ปี ซึ่งทางการทาจิกิสถานได้ค้นพบเมื่อปี 2502 (ค.ศ.1959) และได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์และประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณแห่งชาติ (National Museum of Antiquities) กรุงดูชานเบ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-