สถานการณ์ทั่วไป
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า
ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง1.08 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ โดยปี 2548(ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีมูลค่า 5,553.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547
ร้อยละ 5.2 ตลาดหลักสำหรับการส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน
สถานการณ์การผลิต
ดัชนีอุตสาหกรรม ปี 2548 จำแนกได้ ดังนี้
1. การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ฯ ปี 2548 ดัชนีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น เพราะราคาขายในประเทศสูง
กว่าการนำเข้า ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.1 และ 7.4 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค
2. ดัชนีการส่งสินค้าเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีชะลอตัวลงร้อยละ 8.8 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโค
รเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 2547 ขยายตัวตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น
3. ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.3 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการ
ถักนิตติ้งและโครเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 8.9 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจาก
การจำหน่ายน้อยกว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีสินค้าสะสมในสต๊อก
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2543 2544 2545 2546 2547 2548* อัตราการเปลี่ยนแปลง
เทียบปี 2547 (%)
ผลผลิต 100 97.4 98.4 96.2 94.3 87.8 6.9
การส่งสินค้า 100 97.9 98.1 99.2 98.6 89.9 8.8
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 100 130.6 137.1 151 148.7 150.6 1.3
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548* เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2543 2544 2545 2546 2547 2548* อัตราการเปลี่ยนแปลง
เทียบปี 2547 (%)
ผลผลิต 100 103.7 108.2 112.3 118.9 122.7 3.1
การส่งสินค้า 100 101.4 105.5 100.5 97.9 100.1 2.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 100 102.1 122.8 124.7 144.8 147.7 2
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2543 2544 2545 2546 2547 2548* อัตราการเปลี่ยนแปลง
เทียบปี 2547 (%)
ผลผลิต 100 98.9 100.3 113 119.7 128.5 7.4
การส่งสินค้า 100 98.5 101.0 105.8 109.9 118.7 8
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 100 110 121.9 133.9 161.8 176.1 8.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548* เป็นตัวเลขเบื้องต้น
สถานการณ์การส่งออก
ปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออกรวม 5,553.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 5,279.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออก 2,607.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมี
มูลค่าการส่งออก 2,555.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร สัดส่วนร้อยละ 53.1, 6.1,
6.1 และ 5.4 ตามลำดับ
ผ้าผืนและด้าย มีมูลค่าการส่งออก 1,525.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า
การส่งออก 1,416.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือจีน สหรัฐ อเมริกา ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 6.9,
6.5, 5.5, 5.0 และ 4.7 ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
1. ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออก 892.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ตลาดส่งออกคือ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกงและเนเธอร์แลนด์ สัดส่วนร้อยละ 8.5, 6.7, 6.4, 5.4 และ 5.1 ตามลำดับ
2. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 633.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2547 มีมูลค่าการส่งออก 569.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือจีน ญี่ปุ่น ตุรกี สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 7.6, 6.9, 6.5,
6.2 และ 5.5 ตามลำดับ
2.1 ด้ายฝ้าย มีมูลค่าการส่งออก 123.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2547 มีมูลค่าการส่งออก 112.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ และมาเลเซีย สัดส่วนร้อยละ 13.4, 13.0,
13.0, 11.3 และ 9.7 ตามลำดับ
2.2 ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 509.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 457.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ ตุรกี ปากีสถาน เกาหลีใต้ จีน และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ
8.1, 6.8, 6.4, 6.2 และ 5.5 ตามลำดับ
เส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 369.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 มีมูลค่าการส่ง
ออก 347.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ จีน อินโดนีเซีย ปากีสถาน และเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 22.0, 15.6, 8.3 และ 8.3
ตามลำดับ
เคหะสิ่งทอ มีมูลค่าการส่งออก 200.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 มีมูลค่าการส่ง
ออก 185.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ สัดส่วนร้อยละ 45.6,
16.0, 3.1, 3.0 และ 2.9 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปี 2548 (ม.ค. — ต.ค.) ได้แก่
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอไปสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,754.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.1 จากมูลค่า 1,718.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.6 ของการส่งออกสิ่งทอ
ทั้งหมดของไทย
สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 983.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ17.7 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออก
ของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 350.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ
การนำเข้า
ปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) ภาวะการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้ง
หมด 2,478.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากมูลค่า 2,273.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547
ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่าการนำเข้า 670.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมี
มูลค่าการนำเข้า 588.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐ อเมริกา ออสเตรเลีย ซิมบับเว และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.8,
19.2, 5.4 และ 4.8 ตามลำดับ
ด้ายทอผ้า มีมูลค่าการนำเข้า 369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 376.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2, 17.4, 11.7 และ 10.5
ตามลำดับ
ผ้าผืน มีมูลค่าการนำเข้า 1,118.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 1,016.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง สัดส่วนร้อยละ 34.6, 17.4, 9.9, และ 9.7 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 119.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า
การนำเข้า 124.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และญี่ปุ่น สัดส่วนร้อยละ 47.9, 13.6, 6.6 และ 5.4 ตามลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ มีมูลค่านำเข้า 366.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการ
นำเข้า 367.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน สัดส่วนร้อยละ 31.9, 16.9 และ 11.0 ตามลำดับ
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทย
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
2545 2546 2547 2547 2548 2547(ม.ค.-ต.ค.)
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.)
เครื่องจักรสิ่งทอ 474.7 427 426.6 367.6 366.5 -0.3
ด้ายและเส้นใย 1,020.50 1,094.80 1,223.00 1,036.50 1,121.80 8.2
ผ้าผืน 1,077.30 1,100.20 1,216.20 1,016.30 1,118.60 10.1
เสื้อผ้า และสิ่งทออื่น ๆ 172.6 202.3 263.2 220.3 238.3 8.2
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป 102.7 113.5 146.8 124.6 119.6 -4
- ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 69.9 88.8 116.4 95.7 118.7 24
รวม 2,270.40 2,397.30 2,702.40 2,273.10 2,478.70 9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 2548(ม.ค.-ต.ค.) เป็นตัวเลขเบื้องต้น
สรุปและแนวโน้ม
ปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยรวมมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2547 เป็นไปตาม
ภาวะตลาดโลกโดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญๆ เช่นสหรัฐอเมริกาทั้งนี้เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ ของไทยยังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง
ของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากจีนยังถูกจำกัดโควตาสิ่งทอจากตลาดใหญ่ของโลก ทำให้ออเดอร์สินค้าส่วนใหญ่เข้ามาไทย
สำหรับแนวโน้มปี 2549 การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจีน และเวียดนาม จะยัง
สามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า แต่ไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพการผลิตและฝีมือที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก คาดว่าจะมีการ
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่าปี 2548 ซึ่งขณะนี้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในเอเชียและในตลาดเอเซียน และยังมีการรวมกลุ่มทางการค้า การทำข้อ
ตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ หรือมาตรการภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาค ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นปัจจัย
สนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นมากกว่าปี 2548 ที่ผ่านมา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า
ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง1.08 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ โดยปี 2548(ม.ค.-ต.ค.) การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีมูลค่า 5,553.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547
ร้อยละ 5.2 ตลาดหลักสำหรับการส่งออก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน
สถานการณ์การผลิต
ดัชนีอุตสาหกรรม ปี 2548 จำแนกได้ ดังนี้
1. การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ฯ ปี 2548 ดัชนีการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 6.9 เนื่องจากมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น เพราะราคาขายในประเทศสูง
กว่าการนำเข้า ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.1 และ 7.4 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค
2. ดัชนีการส่งสินค้าเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีชะลอตัวลงร้อยละ 8.8 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโค
รเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 8.0 เมื่อเทียบกับปี 2547 ขยายตัวตามการผลิตที่เพิ่มขึ้น
3. ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ ปี 2548 ดัชนีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.3 ขณะที่การผลิตผ้าที่ได้จากการ
ถักนิตติ้งและโครเชท์ และ การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 8.9 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจาก
การจำหน่ายน้อยกว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีสินค้าสะสมในสต๊อก
ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี 2543 2544 2545 2546 2547 2548* อัตราการเปลี่ยนแปลง
เทียบปี 2547 (%)
ผลผลิต 100 97.4 98.4 96.2 94.3 87.8 6.9
การส่งสินค้า 100 97.9 98.1 99.2 98.6 89.9 8.8
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 100 130.6 137.1 151 148.7 150.6 1.3
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548* เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี 2543 2544 2545 2546 2547 2548* อัตราการเปลี่ยนแปลง
เทียบปี 2547 (%)
ผลผลิต 100 103.7 108.2 112.3 118.9 122.7 3.1
การส่งสินค้า 100 101.4 105.5 100.5 97.9 100.1 2.2
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 100 102.1 122.8 124.7 144.8 147.7 2
ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี 2543 2544 2545 2546 2547 2548* อัตราการเปลี่ยนแปลง
เทียบปี 2547 (%)
ผลผลิต 100 98.9 100.3 113 119.7 128.5 7.4
การส่งสินค้า 100 98.5 101.0 105.8 109.9 118.7 8
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 100 110 121.9 133.9 161.8 176.1 8.9
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548* เป็นตัวเลขเบื้องต้น
สถานการณ์การส่งออก
ปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออกรวม 5,553.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบ
กับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 5,279.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) ได้แก่
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออก 2,607.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมี
มูลค่าการส่งออก 2,555.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร สัดส่วนร้อยละ 53.1, 6.1,
6.1 และ 5.4 ตามลำดับ
ผ้าผืนและด้าย มีมูลค่าการส่งออก 1,525.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า
การส่งออก 1,416.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือจีน สหรัฐ อเมริกา ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 6.9,
6.5, 5.5, 5.0 และ 4.7 ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
1. ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออก 892.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ตลาดส่งออกคือ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกงและเนเธอร์แลนด์ สัดส่วนร้อยละ 8.5, 6.7, 6.4, 5.4 และ 5.1 ตามลำดับ
2. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 633.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2547 มีมูลค่าการส่งออก 569.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือจีน ญี่ปุ่น ตุรกี สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 7.6, 6.9, 6.5,
6.2 และ 5.5 ตามลำดับ
2.1 ด้ายฝ้าย มีมูลค่าการส่งออก 123.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2547 มีมูลค่าการส่งออก 112.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ และมาเลเซีย สัดส่วนร้อยละ 13.4, 13.0,
13.0, 11.3 และ 9.7 ตามลำดับ
2.2 ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 509.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 457.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ ตุรกี ปากีสถาน เกาหลีใต้ จีน และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ
8.1, 6.8, 6.4, 6.2 และ 5.5 ตามลำดับ
เส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 369.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 มีมูลค่าการส่ง
ออก 347.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ จีน อินโดนีเซีย ปากีสถาน และเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 22.0, 15.6, 8.3 และ 8.3
ตามลำดับ
เคหะสิ่งทอ มีมูลค่าการส่งออก 200.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 มีมูลค่าการส่ง
ออก 185.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ สัดส่วนร้อยละ 45.6,
16.0, 3.1, 3.0 และ 2.9 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปี 2548 (ม.ค. — ต.ค.) ได้แก่
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอไปสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,754.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.1 จากมูลค่า 1,718.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31.6 ของการส่งออกสิ่งทอ
ทั้งหมดของไทย
สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 983.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ17.7 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออก
ของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 350.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทย
ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ
การนำเข้า
ปี 2548 (ม.ค.-ต.ค.) ภาวะการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้ง
หมด 2,478.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากมูลค่า 2,273.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547
ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่าการนำเข้า 670.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมี
มูลค่าการนำเข้า 588.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐ อเมริกา ออสเตรเลีย ซิมบับเว และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.8,
19.2, 5.4 และ 4.8 ตามลำดับ
ด้ายทอผ้า มีมูลค่าการนำเข้า 369.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 376.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.2, 17.4, 11.7 และ 10.5
ตามลำดับ
ผ้าผืน มีมูลค่าการนำเข้า 1,118.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการนำ
เข้า 1,016.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง สัดส่วนร้อยละ 34.6, 17.4, 9.9, และ 9.7 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 119.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า
การนำเข้า 124.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และญี่ปุ่น สัดส่วนร้อยละ 47.9, 13.6, 6.6 และ 5.4 ตามลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ มีมูลค่านำเข้า 366.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีมูลค่าการ
นำเข้า 367.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน สัดส่วนร้อยละ 31.9, 16.9 และ 11.0 ตามลำดับ
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทย
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
2545 2546 2547 2547 2548 2547(ม.ค.-ต.ค.)
(ม.ค.-ต.ค.) (ม.ค.-ต.ค.)
เครื่องจักรสิ่งทอ 474.7 427 426.6 367.6 366.5 -0.3
ด้ายและเส้นใย 1,020.50 1,094.80 1,223.00 1,036.50 1,121.80 8.2
ผ้าผืน 1,077.30 1,100.20 1,216.20 1,016.30 1,118.60 10.1
เสื้อผ้า และสิ่งทออื่น ๆ 172.6 202.3 263.2 220.3 238.3 8.2
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป 102.7 113.5 146.8 124.6 119.6 -4
- ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 69.9 88.8 116.4 95.7 118.7 24
รวม 2,270.40 2,397.30 2,702.40 2,273.10 2,478.70 9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 2548(ม.ค.-ต.ค.) เป็นตัวเลขเบื้องต้น
สรุปและแนวโน้ม
ปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยรวมมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2547 เป็นไปตาม
ภาวะตลาดโลกโดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญๆ เช่นสหรัฐอเมริกาทั้งนี้เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ ของไทยยังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง
ของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากจีนยังถูกจำกัดโควตาสิ่งทอจากตลาดใหญ่ของโลก ทำให้ออเดอร์สินค้าส่วนใหญ่เข้ามาไทย
สำหรับแนวโน้มปี 2549 การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจีน และเวียดนาม จะยัง
สามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า แต่ไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพการผลิตและฝีมือที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก คาดว่าจะมีการ
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นไม่ต่ำกว่าปี 2548 ซึ่งขณะนี้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในเอเชียและในตลาดเอเซียน และยังมีการรวมกลุ่มทางการค้า การทำข้อ
ตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ หรือมาตรการภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาค ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นปัจจัย
สนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นมากกว่าปี 2548 ที่ผ่านมา
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-