ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2548 ชะลอตัว โดยทางด้านอุปสงค์ กิจกรรมการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลง ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภคและผู้ลงทุน การส่งออกและนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากผลผลิตพืชหลักโดยเฉพาะลำไยเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคบริการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะที่ผลิตเพื่อการส่งออกลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ด้านเงินฝากขยายตัว จากเงินฝากของส่วนราชการเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อยังขยายตัวดี
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 ตามผลผลิตลำไยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็นสำคัญ เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ตามแรงจูงใจของราคาในช่วงหลายปีก่อนหน้า ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่สามารถดูแลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ด้านราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.3 โดยราคาลำไยลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 เดือนก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 เหลือ 144.2 ล้านดอลลาร์สรอ. โดยสินค้าที่มีมูลค่าการผลิตลดลงมากได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 1.3 เหลือ 9,963 เมตริกตัน สำหรับการผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1 เป็น 154.0 พันเมตริกตัน
3. ภาคบริการ ภาคบริการในภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามฤดูกาล โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ของลูกค้าผู้สูงอายุในประเทศแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร์และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี กิจกรรมการท่องเที่ยวยังชะลอตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูง ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มยังขาดความเชื่อมั่นจากข่าวแผ่นดินไหวและเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญในภาคเหนือ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.7 เหลือร้อยละ 51.8 ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมระดับสูงในจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภค กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 27.1 ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 11.1 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนซึ่งลดลงร้อยละ 3.9 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 เดือนก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนเพื่อการก่อสร้างอยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวจากเดือนก่อน ขณะที่สัญญาณการลงทุนเพื่อการก่อสร้าง ได้แก่พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 24.8 ตามการลดลงของการก่อสร้างประเภทเพื่อที่อยู่อาศัย หอพัก และโรงแรม ทางด้านสัญญาณการลงทุนเพื่อการผลิตในเดือนนี้มีไม่มากนัก เมื่อเทียบเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ในเดือนนี้ มีจำนวนเพียง 2 แห่ง มูลค่าเงินลงทุน 800 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.3 โดยเป็นโครงการเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 เป็น 202.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงมากจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยชะลอตัวในทุกด่าน ได้แก่
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 เป็น 20.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าประเภทอัญมณี โดยมีตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 4.2 เหลือ 144.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าส่งออกของสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ เป็นสำคัญ
การส่งออกชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เป็น 38.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงตามการลดลงของการส่งออกสินค้าไปพม่า ที่ลดลงร้อยละ 5.2 เหลือ 28.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากพม่าเข้มงวดการค้าชายแดนบริเวณด่านแม่สอดและแม่สายเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ และลาว ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 เป็น 135.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนเช่นกัน โดยชะลอตัวในทุกด่าน ได้แก่
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 เป็น 2.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ เป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็น 129.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล และวัตถุดิบประเภทมุกและเพชรพลอยเพื่อส่งออก
การนำเข้าผ่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เป็น 4.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากจีนตอนใต้และลาว เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าจากพม่าลดลง
ดุลการค้า เกินดุล 67.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 86.8 ล้านดอลลาร์สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโดยเฉพาะในหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้กลุ่มพลังงานมีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่หมวดผัก ผลไม้ และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนกรกฎาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ของเดือนก่อน และที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 ของระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนมิถุนายน 2548 มีกำลังแรงงานในภาคเหนือ 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 96.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 6.9 ด้านอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.1 ในปีก่อน เหลือเพียงร้อยละ 1.3
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนกรกฎาคม 2548 มีจำนวน 532,467 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.9 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับ
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 304,834 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 โดยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินฝากของส่วนราชการของจังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง เป็นสำคัญ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 227,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ และโอนชำระหนี้หลังการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 74.6 สูงกว่าร้อยละ 70.8 ของระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 ตามผลผลิตลำไยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็นสำคัญ เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก ตามแรงจูงใจของราคาในช่วงหลายปีก่อนหน้า ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่สามารถดูแลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ด้านราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.3 โดยราคาลำไยลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 เดือนก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 เหลือ 144.2 ล้านดอลลาร์สรอ. โดยสินค้าที่มีมูลค่าการผลิตลดลงมากได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 1.3 เหลือ 9,963 เมตริกตัน สำหรับการผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1 เป็น 154.0 พันเมตริกตัน
3. ภาคบริการ ภาคบริการในภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามฤดูกาล โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบลองสเตย์ของลูกค้าผู้สูงอายุในประเทศแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร์และญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี กิจกรรมการท่องเที่ยวยังชะลอตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูง ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติบางกลุ่มยังขาดความเชื่อมั่นจากข่าวแผ่นดินไหวและเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญในภาคเหนือ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 และยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.7 เหลือร้อยละ 51.8 ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมระดับสูงในจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคเหนือ
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามความระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภค กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ ปริมาณจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 27.1 ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 11.1 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนซึ่งลดลงร้อยละ 3.9 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทค้าส่งค้าปลีกฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 เดือนก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนเพื่อการก่อสร้างอยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวจากเดือนก่อน ขณะที่สัญญาณการลงทุนเพื่อการก่อสร้าง ได้แก่พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 24.8 ตามการลดลงของการก่อสร้างประเภทเพื่อที่อยู่อาศัย หอพัก และโรงแรม ทางด้านสัญญาณการลงทุนเพื่อการผลิตในเดือนนี้มีไม่มากนัก เมื่อเทียบเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ในเดือนนี้ มีจำนวนเพียง 2 แห่ง มูลค่าเงินลงทุน 800 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.3 โดยเป็นโครงการเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 เป็น 202.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงมากจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยชะลอตัวในทุกด่าน ได้แก่
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 เป็น 20.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าประเภทอัญมณี โดยมีตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 4.2 เหลือ 144.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามมูลค่าส่งออกของสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ เป็นสำคัญ
การส่งออกชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เป็น 38.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงตามการลดลงของการส่งออกสินค้าไปพม่า ที่ลดลงร้อยละ 5.2 เหลือ 28.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากพม่าเข้มงวดการค้าชายแดนบริเวณด่านแม่สอดและแม่สายเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ และลาว ยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
การนำเข้า เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 เป็น 135.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนเช่นกัน โดยชะลอตัวในทุกด่าน ได้แก่
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 เป็น 2.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ เป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 เป็น 129.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องจักรกล และวัตถุดิบประเภทมุกและเพชรพลอยเพื่อส่งออก
การนำเข้าผ่านชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เป็น 4.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าจากจีนตอนใต้และลาว เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าจากพม่าลดลง
ดุลการค้า เกินดุล 67.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 86.8 ล้านดอลลาร์สรอ. ระยะเดียวกันปีก่อน
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโดยเฉพาะในหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 และหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้กลุ่มพลังงานมีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาได้แก่หมวดผัก ผลไม้ และหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือนกรกฎาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ของเดือนก่อน และที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.0 ของระยะเดียวกันปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนมิถุนายน 2548 มีกำลังแรงงานในภาคเหนือ 6.6 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.2 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 96.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 6.9 ด้านอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.1 ในปีก่อน เหลือเพียงร้อยละ 1.3
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนกรกฎาคม 2548 มีจำนวน 532,467 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.9 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับ
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดคงค้างเงินฝากทั้งสิ้น 304,834 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 โดยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินฝากของส่วนราชการของจังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง เป็นสำคัญ ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 227,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ และโอนชำระหนี้หลังการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 74.6 สูงกว่าร้อยละ 70.8 ของระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--