นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) และศูนย์การศึกษาความร่วมมือเอเชีย (ACD Study Center) เป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาระดับผู้บริหารของประเทศสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue High-level Seminar) ในหัวข้อเรื่อง “การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินผ่านการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย” (Enhancing Financial Cooperation through Asian Bond Market Development) ในระหว่างวันที่ 24 — 25 มีนาคม 2549 ณ โรงแรม Four Seasons กรุงเทพฯ
การสัมมนาดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผู้บริหารจากกระทรวงการคลัง ธนาคารกลาง และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) รวมทั้งผู้บริหารจากภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และนักวิชาการต่างๆ ได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และข้อคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึกที่เกี่ยวกับการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติการ ทั้งนี้ การสัมมนาฯ จะมีหัวข้อการประชุมหลัก 5 ด้าน ดังนี้
1. ภาพรวมการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในภูมิภาค และประสบการณ์การดำเนินงานภายใต้กรอบเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ (Overview of Asian Bond Market Development in the Region and Work Experiences in Various Forums) - ในหัวข้อนี้จะมีการรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กรอบ ASEAN+3 และ EMEAP รวมถึงสถานะปัจจุบันของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในภูมิภาค
2. การสนับสนุนด้านอุปทานของพันธบัตรเอเชีย (Promoting Supply of Asian Bonds) — ในหัวข้อนี้จะมีการสนทนา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคในเชิงลึกให้มีสภาพคล่องและความหลากหลายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มอุปทานของพันธบัตรที่เป็นเงินตราสกุลท้องถิ่น (Local Currency-denominated Bonds)
3. การพัฒนาด้านอุปสงค์ของพันธบัตรเอเชีย (Structuring Demand to Promote Asian Bonds) — ในหัวข้อนี้จะเป็นการร่วมพิจารณาหาแนวทางการเพิ่มอุปสงค์ของพันธบัตรเอเชีย โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Funds: ABFs) ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบ EMEAP
4. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Creating an Environment Conducive to Developing Bond Markets in Asia) — ในหัวข้อนี้จะมีการหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินสำหรับการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ทั้งในด้านการกำกับดูแลสำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับพันธบัตรเอเชีย และการจัดตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในภูมิภาค
5. มุมมองของภาคเอกชนต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (A Perspective of Private Sector on Asian Bond Market Development) — เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และส่งเสริมการประสานความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและเอกชนในการพิจารณาแนวทางดำเนินการที่เหมาะสม และรับฟังข้อเสนอแนะของภาคเอกชน
ภายใต้การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) นี้ ประเทศไทยเป็นผู้นำหลักในการผลักดันด้านความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค และจะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญที่จะช่วยให้ประเทศในเอเชียสามารถใช้ประโยชน์จากทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคมากขึ้น นอกจากนี้ พันธบัตรเอเชียจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินในการกู้เงินเพื่อการพัฒนา และช่วยให้ธนาคารกลางของประเทศในเอเชีย รวมทั้งนักลงทุนภาคเอกชนสามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ผลการหารือในการสัมมนาผู้บริหารระดับสูง ในเรื่อง “การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินผ่านการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย” (Enhancing Financial Cooperation through Asian Bond Market Development) จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะใช้ในการหารือในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ACD ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-4 มิถุนายน 2549 ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสัมมนาดังกล่าว อาทิ ชื่อวิทยากร ใบลงทะเบียนฯลฯ เป็นต้น สามารถเข้าไปดูได้ที่ Website ของศูนย์การศึกษาความร่วมมือเอเชีย (http://www.acddialogue.com/web/24.php) และของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (http://www.fpo.go.th)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 21/2549 20 มีนาคม 49--
การสัมมนาดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผู้บริหารจากกระทรวงการคลัง ธนาคารกลาง และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกลุ่มประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) รวมทั้งผู้บริหารจากภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และนักวิชาการต่างๆ ได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และข้อคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงลึกที่เกี่ยวกับการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติการ ทั้งนี้ การสัมมนาฯ จะมีหัวข้อการประชุมหลัก 5 ด้าน ดังนี้
1. ภาพรวมการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในภูมิภาค และประสบการณ์การดำเนินงานภายใต้กรอบเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ (Overview of Asian Bond Market Development in the Region and Work Experiences in Various Forums) - ในหัวข้อนี้จะมีการรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กรอบ ASEAN+3 และ EMEAP รวมถึงสถานะปัจจุบันของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียในภูมิภาค
2. การสนับสนุนด้านอุปทานของพันธบัตรเอเชีย (Promoting Supply of Asian Bonds) — ในหัวข้อนี้จะมีการสนทนา เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาคในเชิงลึกให้มีสภาพคล่องและความหลากหลายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มอุปทานของพันธบัตรที่เป็นเงินตราสกุลท้องถิ่น (Local Currency-denominated Bonds)
3. การพัฒนาด้านอุปสงค์ของพันธบัตรเอเชีย (Structuring Demand to Promote Asian Bonds) — ในหัวข้อนี้จะเป็นการร่วมพิจารณาหาแนวทางการเพิ่มอุปสงค์ของพันธบัตรเอเชีย โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Funds: ABFs) ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบ EMEAP
4. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Creating an Environment Conducive to Developing Bond Markets in Asia) — ในหัวข้อนี้จะมีการหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินสำหรับการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ทั้งในด้านการกำกับดูแลสำหรับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับพันธบัตรเอเชีย และการจัดตั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในภูมิภาค
5. มุมมองของภาคเอกชนต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (A Perspective of Private Sector on Asian Bond Market Development) — เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และส่งเสริมการประสานความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและเอกชนในการพิจารณาแนวทางดำเนินการที่เหมาะสม และรับฟังข้อเสนอแนะของภาคเอกชน
ภายใต้การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) นี้ ประเทศไทยเป็นผู้นำหลักในการผลักดันด้านความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค และจะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญที่จะช่วยให้ประเทศในเอเชียสามารถใช้ประโยชน์จากทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคมากขึ้น นอกจากนี้ พันธบัตรเอเชียจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินในการกู้เงินเพื่อการพัฒนา และช่วยให้ธนาคารกลางของประเทศในเอเชีย รวมทั้งนักลงทุนภาคเอกชนสามารถได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ผลการหารือในการสัมมนาผู้บริหารระดับสูง ในเรื่อง “การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินผ่านการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย” (Enhancing Financial Cooperation through Asian Bond Market Development) จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะใช้ในการหารือในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ACD ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-4 มิถุนายน 2549 ณ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสัมมนาดังกล่าว อาทิ ชื่อวิทยากร ใบลงทะเบียนฯลฯ เป็นต้น สามารถเข้าไปดูได้ที่ Website ของศูนย์การศึกษาความร่วมมือเอเชีย (http://www.acddialogue.com/web/24.php) และของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (http://www.fpo.go.th)
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 21/2549 20 มีนาคม 49--