1. ภาวการณ์ปัจจุบัน
การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับใน ปี 2548 คาดว่ามีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 20 เนื่องจากสินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดหลักมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีอัตราส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุดจากปีที่แล้วคือ ไข่มุก และเครื่องประดับแท้ที่ทำจากโลหะมีค่าที่ไม่ใช่ทองและเงิน โดยมีอัตราเติบโตร้อยละ 84.8 และ 147.3 ตามลำดับ *
ประเทศที่เป็นตลาดหลักของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ 5 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา
อิสราเอล ฮ่องกง เบลเยี่ยม และ ญี่ปุ่น
2. ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค. 48 มีมูลค่ารวม 2,613 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.8
สินค้าหลักที่ส่งออกในส่วนเครื่องประดับ ได้แก่ เครื่องประดับที่ทำด้วยทอง, ทำด้วยเงิน และทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ โดยมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 52.9 ของมูลค่าโดยรวมของสินค้าส่งออกของอุตสาหกรรม
สินค้าหลักในส่วนของอัญมณี ประกอบด้วย เพชร พลอย ไข่มุก โดยมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 35.9 ของมูลค่าโดยรวมของสินค้าส่งออกของอุตสาหกรรม
3. ตลาดนำเข้า
ตลาดนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค. 48 มีมูลค่ารวม 3,588.3 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.1 โดยสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มสูงสุดคือ ทองคำ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สินค้าที่มีอัตราการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นรองลงมาได้แก่ ไข่มุก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3
นอกจากทองคำและไข่มุกแล้ว สินค้าอัญมณีและโลหะมีค่า ที่มีการนำเข้า ได้แก่ เพชร พลอย
อัญมณีสังเคราะห์ เงิน แพลทินั่ม และโลหะมีค่าอื่นๆ
ในส่วนของ เครื่องประดับ ที่มีการนำเข้าได้แก่ เครื่องประดับอัญมณีแท้ และเครื่องประดับอัญมณีเทียมโดยมีมูลค่ารวม 177.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.4
4. แนวโน้มปี 2549
จากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2549 จะขยายตัวในระดับ ร้อยละ 4.7-5 และเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 6 โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นลูกค้าส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหภาพยุโรป ประชาชนมีความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะเครื่องประดับเพชร เครื่องประดับทองคำ และเครื่องประดับเงินเพิ่มมากขึ้น ทั้งระดับ Low-end High-end ประเทศไทยจะมีโอกาสอันดีในฐานะศูนย์กลางการค้าพลอยเนื้อแข็ง และพลอยเนื้ออ่อนที่สำคัญของโลก ซึ่งได้ตั้งเป้าการส่งออก 3,810 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 20 โดยเฉพาะหากภาครัฐของไทยสามารถเจรจาลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและภาษีนำเข้าสำหรับตลาดสำคัญ และการทำตลาดเชิงรุกสู่ยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย เช็ก และโปแลนด์ จะทำให้มูลค่าการส่งออกเครื่องประดับไทยสู่ตลาดโลกขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ในปี 2549 แนวโน้มตลาดของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับยังคงมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน คือ
1. สภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้ความต้องการถือครองทองคำ สูงขึ้นเพื่อรักษาค่าเงิน และการซื้อเพื่อการเก็งกำไร ทำให้อุปสงค์ของสินค้าประเภททองคำและหินมีค่ามีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องไปยังปีหน้า
2. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีการใช้งานฝีมือสูงยังคงมีความได้เปรียบในตลาด เทียบกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ เช่น จีน และอินเดีย ที่มีความได้เปรียบด้านค่าแรงถูก
3. การอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าส่งออกจากไทยมีราคาถูกลงโดยเปรียบเทียบ
*ข้อมูล ม.ค.-ต.ค.47 เปรียบเทียบ ม.ค.-ต.ค.48
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับใน ปี 2548 คาดว่ามีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 20 เนื่องจากสินค้าที่ส่งออกไปยังตลาดหลักมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีอัตราส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุดจากปีที่แล้วคือ ไข่มุก และเครื่องประดับแท้ที่ทำจากโลหะมีค่าที่ไม่ใช่ทองและเงิน โดยมีอัตราเติบโตร้อยละ 84.8 และ 147.3 ตามลำดับ *
ประเทศที่เป็นตลาดหลักของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ 5 อันดับแรกได้แก่ สหรัฐอเมริกา
อิสราเอล ฮ่องกง เบลเยี่ยม และ ญี่ปุ่น
2. ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค. 48 มีมูลค่ารวม 2,613 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.8
สินค้าหลักที่ส่งออกในส่วนเครื่องประดับ ได้แก่ เครื่องประดับที่ทำด้วยทอง, ทำด้วยเงิน และทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ โดยมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 52.9 ของมูลค่าโดยรวมของสินค้าส่งออกของอุตสาหกรรม
สินค้าหลักในส่วนของอัญมณี ประกอบด้วย เพชร พลอย ไข่มุก โดยมีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 35.9 ของมูลค่าโดยรวมของสินค้าส่งออกของอุตสาหกรรม
3. ตลาดนำเข้า
ตลาดนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค. 48 มีมูลค่ารวม 3,588.3 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 45.1 โดยสินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มสูงสุดคือ ทองคำ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สินค้าที่มีอัตราการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นรองลงมาได้แก่ ไข่มุก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3
นอกจากทองคำและไข่มุกแล้ว สินค้าอัญมณีและโลหะมีค่า ที่มีการนำเข้า ได้แก่ เพชร พลอย
อัญมณีสังเคราะห์ เงิน แพลทินั่ม และโลหะมีค่าอื่นๆ
ในส่วนของ เครื่องประดับ ที่มีการนำเข้าได้แก่ เครื่องประดับอัญมณีแท้ และเครื่องประดับอัญมณีเทียมโดยมีมูลค่ารวม 177.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.4
4. แนวโน้มปี 2549
จากการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2549 จะขยายตัวในระดับ ร้อยละ 4.7-5 และเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 6 โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นลูกค้าส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหภาพยุโรป ประชาชนมีความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะเครื่องประดับเพชร เครื่องประดับทองคำ และเครื่องประดับเงินเพิ่มมากขึ้น ทั้งระดับ Low-end High-end ประเทศไทยจะมีโอกาสอันดีในฐานะศูนย์กลางการค้าพลอยเนื้อแข็ง และพลอยเนื้ออ่อนที่สำคัญของโลก ซึ่งได้ตั้งเป้าการส่งออก 3,810 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 20 โดยเฉพาะหากภาครัฐของไทยสามารถเจรจาลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและภาษีนำเข้าสำหรับตลาดสำคัญ และการทำตลาดเชิงรุกสู่ยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย เช็ก และโปแลนด์ จะทำให้มูลค่าการส่งออกเครื่องประดับไทยสู่ตลาดโลกขยายตัวมากยิ่งขึ้น
ในปี 2549 แนวโน้มตลาดของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับยังคงมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน คือ
1. สภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทำให้ความต้องการถือครองทองคำ สูงขึ้นเพื่อรักษาค่าเงิน และการซื้อเพื่อการเก็งกำไร ทำให้อุปสงค์ของสินค้าประเภททองคำและหินมีค่ามีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องไปยังปีหน้า
2. สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีการใช้งานฝีมือสูงยังคงมีความได้เปรียบในตลาด เทียบกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆ เช่น จีน และอินเดีย ที่มีความได้เปรียบด้านค่าแรงถูก
3. การอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าส่งออกจากไทยมีราคาถูกลงโดยเปรียบเทียบ
*ข้อมูล ม.ค.-ต.ค.47 เปรียบเทียบ ม.ค.-ต.ค.48
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-