การส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐอเมริกา ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงระยะ 8 เดือนของปี 2549 แม้จะขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ แต่ยังมีสินค้าไทยอีกหลายรายการกำลังสูญเสียโอกาส เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพสินค้า ปัจจุบันไทยมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดส่งออกทั่วโลกเพียง 1.17% ใกล้เคียงกับอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนจีนมีมาร์เก็ตแชร์ 6 % ที่สำคัญไทยยังไม่มีสินค้าส่งออกใด ที่โดดเด่นในตลาดโลกจากรายงานของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม ซึ่งทำการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ 125 ประเทศทั่วโลก ได้จัดอันดับไทยอยู่ในลำดับที่ 35 ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ อยู่ลำดับที่ 5 และมาเลเซีย อยู่ลำดับที่ 26 โดยจากเดิมในปี 2547 ไทยส่งออกติดลำดับที่ 23 ในตลาดโลก ขณะที่ปี 2548 ตกลงมาอยู่ที่ลำดับที่ 24 นายเจริญ คำพู เจ้าของกิจการและประธานบริษัท เฮช.ซี.ฟูดส์ และแปซิฟิก ซันไร ซีฟูด จำกัด ผู้นำเข้าสินค้าประเภทอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ของใช้ในครัวเรือนฯลฯ จากเอเชียรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “การนำเข้าที่ผ่านมาแม้ปริมาณสินค้าไทยที่นำเข้ามาจะไม่ลดลงแต่ก็ไม่โต” จากที่เคยนำเข้าประมาณ 90 % ตอนนี้ลดลงเหลือ 60-70 % เนื่องจากการแข่งขันสูง โดยสินค้าไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา คุณภาพสินค้าเริ่มตกต่ำลง เช่น ข้าวหอมมะลิ และทุเรียนแช่แข็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาราคาสินค้าไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 26 % ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ก็ยังพอมีข่าวดีอยู่บ้างเพราะนายเจริญ มีแนวความคิดที่จะทำอาหารไทยเข้าไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตรวมกว่า 2,500 แห่ง โดยหากุ๊กที่มีประสบการณ์มาช่วยทำอาหาร ในลักษณะ “Food to go” ขายในซูเปอร์มาร์เก็ต” รวมทั้ง ช็อปปิ้งมอลล์ ต่าง ๆ ด้วย ถือเป็นการขยายช่องทางจัดจำหน่ายและเปิดตลาดใหม่ด้วยการตั้งดิสตริบิวชันต้องทุนมาก นายวิวิต เลอวิศิษฐ์ เจ้าของบริษัท Chapal Zenray, Inc ผู้ผลิต และค้าส่งอัญมณี ประเภททอง เพชร เงิน และสินค้าแฟชั่น และยังเป็นดิสตริบิวชัน ป้อนสินค้าให้กับห้างสรรพสินค้าและค้าปลีกขนาดใหญ่ กล่าวว่าสินค้าจากไทยยังมีน้อย แต่ส่วนใหญ่จะมาจากจีน เกาหลีอินเดีย และปัญหาและภาระใหญ่ของการเป็นดิสตริบิวเตอร์ คือ การลงทุนพัฒนาระบบซอฟแวร์(EDI) ซึ่งบริษัทคู่ค้าจะผลักภาระให้ผู้ขายเป็นผู้ลงทุน และการให้บริการตามความต้องการของคู่ค้าประเด็นวิเคราะห์: การที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในสหรัฐอเมริกาเป็นสิ่งสำคัญคือต้องศึกษากฎระเบียบทางการค้า รักษาคุณภาพสินค้าไทยให้ได้มาตรฐานและสร้างความพร้อมในการเข้าไปลงทุนในสหรัฐอเมริกา ที่มา: http://www.depthai.go.th