สวนดุสิตโพลล์: "คนไทย” กับ "การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ"

ข่าวผลสำรวจ Friday October 8, 2010 13:49 —สวนดุสิตโพล

วันที่ 12 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดการสัมมนา “สมัชชา กศน. ตำบล : ศูนย์ การเรียนชุมชนตลอดชีวิต” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ปลัดกระทรวงฯ ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องของ กศน. รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล ตลอดจนภาคีเครือข่ายการศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อร่วมเป็นกำลังสำคัญในการทำให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ และทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความสุขร่วมกัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อแนวทางการทำงานและความก้าวหน้าของการศึกษา ไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากครู อาจารย์ /บุคลากรทางการศึกษา พ่อแม่/ผู้ปกครอง และ ประชาชนในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ จำนวน 2,366 คน ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้

1. จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่า “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
อย่างมีคุณภาพ” เพื่อทำให้คนไทยเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ประชาชนเห็นด้วยกับข้อความนี้
มากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1          เห็นด้วยอย่างยิ่ง          72.94%

เพราะ การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้ สติปัญญา ,เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศนั้นพัฒนาแล้ว ฯลฯ

อันดับ 2          ค่อนข้างเห็นด้วย          20.06%

เพราะ เป็นการพัฒนาและผลิตคนรุ่นใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ,การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกสถานที่ทุกเวลา ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยเห็นด้วย            4.68%

เพราะ หากมุ่งเน้นแต่การเรียนรู้อย่างเดียวแต่ขาดการปฏิบัติ ฝึกฝน ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จได้ ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่เห็นด้วยเลย            2.32%

เพราะ เป็นเรื่องยากที่คนเราจะเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน ฯลฯ

2. ประชาชนให้ความสำคัญกับ “กศน.ตำบล ที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิต” มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          ให้ความสำคัญอย่างมาก          48.24%

เพราะ กศน.ตำบลสามารถเข้าถึงชุมชนและคนระดับรากหญ้าได้เป็นอย่างดี ,ทำให้ผู้ที่ด้อยโอกาสได้เรียน ฯลฯ

อันดับ 2          ค่อนข้างให้ความสำคัญ           36.47%

เพราะ กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงศึกษาฯที่มีอยู่ทุกตำบล ช่วยให้ชุมชนมีความรู้และเข้มแข็ง ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยให้ความสำคัญ             8.23%

เพราะ ที่ผ่านมาบทบาทหรือการให้ความสำคัญกับ กศน. ตำบลมีน้อย ทำให้ไม่มั่นใจในศักยภาพของ กศน.ตำบล มากพอ ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่ให้ความสำคัญเลย             7.06%

เพราะ ลำพัง กศน.ตำบลเพียงหน่วยงานเดียวคิดว่าไม่น่าจะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ

ที่เกี่ยวข้องช่วยกันพัฒนาการศึกษาของคนไทย ฯลฯ

3. สิ่งที่ประชาชนอยากเห็น “งาน/โครงการ/กิจกรรม” กศน.ตำบล เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิตที่แท้จริงอย่างเป็นรูปธรรม คือ
อันดับ 1          สอนให้คนในชุมชนมีความรู้ รู้จักดูแลตนเอง และดูแลซึ่งกันและกันเพื่อให้เป็นชุมชนที่น่าอยู่            29.56%
อันดับ 2          อยากให้ กศน.ตำบลเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนหรือเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน          25.01%
อันดับ 3          การจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆเพื่อการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่าง กศน.ตำบล กับชุมชน           18.33%
อันดับ 4          มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ ให้ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือฝึกอาชีพ          15.72%
อันดับ 5          มีการจัดสื่อ อุปกรณ์ หนังสือแบบต่างๆไว้ให้บริการคนในชุมชนที่สนใจ                           11.38%

4. จงเรียงลำดับความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
อันดับ 1          สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการศึกษาตลอดชีวิต            48.06%
อันดับ 2          ให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วม โดยทำเป็นข้อเสนอ/โครงการเพื่อสนองต่อความต้องการอย่างแท้จริง            22.18%
อันดับ 3          สร้างชุมชนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทำกิจกรรมสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์โดยวัดและประเมินผลได้    13.31%
อันดับ 4          พัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยมีครู กศน. เป็นหลัก             8.87%
อันดับ 5          ให้ครู กศน.ศึกษาและเข้าใจชุมชนโดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นเหมือนห้องเรียนของคนในชุมชน                7.58%

5. ความคาดหวังของประชาชนต่อ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” คนปัจจุบัน(นายชินวรณ์  บุณยเกียรติ) ว่าจะทำงานนี้สำเร็จได้มากน้อย
เพียงใด?
อันดับ 1          น่าจะสำเร็จ            57.83%

เพราะ สามารถนำบทเรียนจากการปฏิรูปรอบแรกมาปรับแก้ให้เหมาะสมและสำเร็จได้ , มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน

ทางด้านการศึกษาอย่างเต็มที่ ฯลฯ

อันดับ 2          คงจะไม่สำเร็จ          16.87%

เพราะ คิดว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ยังขาดการสนับสนุนหรือไม่พร้อมทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ ,

สภาพสังคมปัจจุบันทุกคนต้องดิ้นรน ทำมาหากินอาจไม่มีเวลาที่จะสนใจเรื่องการศึกษา ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่สำเร็จ              13.25%

เพราะ หากมีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ โครงการต่างๆก็อาจจะไม่มีการสานต่อหรือถูกยกเลิกไป

โดยมีโครงการใหม่ๆมาแทน ฯลฯ

อันดับ 4          สำเร็จแน่นอน           12.05%

เพราะ ดูจากความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะปฏิรูปการศึกษาของไทยให้สำเร็จ , หลายฝ่ายต่างให้ความสนใจและได้รับการสนับสนุนจาก

นายกรัฐมนตรี ,เป็นช่วงที่ทุกคนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น ฯลฯ

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ