**ประชาชน 77.14% เห็นด้วยกับการทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ **
จากมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น จาก 6 ประเด็น คือ ให้แก้ไขมาตรา 190 เรื่องการทำหนังสือสัญญาที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และแก้ไขวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ขณะที่ 4 ประเด็นที่เหลือจะพิจารณาตามความเหมาะสมโดยยึดถือความถูกต้องและเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นสำคัญ จากกรณีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และมีบางกลุ่มเรียกร้องให้มีการทำประชามติก่อนที่จะมีการแก้รัฐธรรมนูญ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำนวนทั้งสิ้น 2,331 คน ระหว่างวันที่ 2-6 พฤศจิกายน 2553 สรุปผลได้ดังนี้
เพราะ เป็นเรื่องสำคัญที่ควรช่วยกันพิจารณากลั่นกรองจากหลายฝ่าย ,เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ,ข้อความบางส่วนยังไม่ชัดเจนจึงควรมีการปรับแก้ให้รัดกุมมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 20.40%เพราะ มาตรา 190 ของเดิมที่เขียนไว้ก็รัดกุมดีอยู่แล้ว ไม่อยากให้เรื่องสำคัญ ๆ ในระดับประเทศต้องถูกเปิดเผยหรือขยายวงกว้างออกไป ,การแก้ไขใหม่อาจมีการตีความเพื่อประโยชน์หรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 18.41%เพราะ การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นมาตราใดก็ตามอาจมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ,ไม่รู้ว่าแก้ไปแล้วจะดีกว่าเดิมหรือไม่? ฯลฯ
เพราะ ช่วยให้ประชาชนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น , กกต. สามารถบริหารจัดการ ดูแลในเรื่องของการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความสะดวก ,ช่วยประหยัดงบประมาณในการเลือกตั้ง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 25.87% เพราะ ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ได้เปรียบ , ส.ส. มีอำนาจผูกขาดเพียงคนเดียว ,หากเลือกได้คนดีก็ดีไป ไม่มี คนคอยตรวจสอบ ฯลฯ อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 16.42%เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ,ทุกระบบมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ขึ้นอยู่กับการพิจารณาและนำไปใช้ ฯลฯ
เพราะ แสดงให้เห็นถึงความเป็นประชาธิปไตย ,เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง จะได้ไม่เป็นการปิดกั้นทางความคิด ,การเมืองเป็นเรื่องของประเทศชาติและประชาชน ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 16.57%เพราะ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณ ประชาชนยังขาดความรู้และยังไม่เข้าใจถึงข้อดี ข้อเสียมากพอ ,อาจเป็นการสร้างความวุ่นวายให้เพิ่มมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 6.29%เพราะ จะต้องศึกษาถึงผลดี ผลเสียอย่างละเอียด ,ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญดีพอ ฯลฯ
เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ นักการเมืองยังเป็นคนกลุ่มเดิมๆ ทัศนคติหรือมุมมองอาจเปลี่ยนไป ได้ยาก ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 33.47%เพราะ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากนักการเมืองเป็นส่วนใหญ่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอีกประเด็นหนึ่งของการเมืองที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นกระแสในช่วงนี้ ฯลฯ
อันดับ 3 ดีขึ้น 21.10%เพราะ ทุกฝ่ายน่าจะพอใจ เพราะเป็นความต้องการจากเสียงส่วนใหญ่ ,เป็นการอุดช่องโหว่และข้อผิดพลาดในบางประเด็น ฯลฯ
อันดับ 4 แย่ลง 7.54%เพราะ อาจส่งผลให้บุคคลบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้าน สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง ฯลฯ
--สวนดุสิตโพลล์--