สวนดุสิตโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไร? กับการขึ้นเงินเดือนผู้ใช้แรงงาน ข้าราชการ และนักการเมือง/ส.ส. ส.ว.

ข่าวผลสำรวจ Wednesday December 15, 2010 14:54 —สวนดุสิตโพล

หลังจากที่มีกระแสข่าวจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ส.ส. ส.ว. ทำให้เกิดกรณีวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง กระทั่งขณะนี้ที่คณะรัฐมนตรีมี มติให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ องค์กรอิสระ และ ส.ส. ส.ว. โดยจะมีผลในเดือน เม.ย.ปีหน้า ส่วนงบของ อบต. ที่ กระทรวงมหาดไทย เสนอนั้น นายกรัฐมนตรีได้ตีกลับให้ไปทบทวนใหม่เป็นครั้งที่ 2 และมีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างทุกคน “สวนดุสิต โพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อการขึ้นเงินเดือนดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,854 คน ระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2553 สรุปผลได้ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับการขึ้นค่าจ้างให้แก่กลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
(1.1) การขึ้นค่าจ้างให้แก่ “ผู้ใช้แรงงาน”
อันดับ 1   ค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้น ราคาสินค้าหลายประเภทมีราคาแพง                 46.06%
อันดับ 2   ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย /เงินเดือนน้อย                    33.41%
อันดับ 3   ควรมีการปรับขึ้นเงินเดือนมานานแล้ว ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่เป็นคนระดับรากหญ้า     20.53%
(1.2)  การขึ้นค่าจ้างให้แก่ “ข้าราชการ”
อันดับ 1   เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการไทยในการทำงานต่อไป                            41.19%
อันดับ 2   ข้าราชการไทยโดยเฉพาะระดับชั้นผู้น้อยมีรายได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน               35.63%
อันดับ 3   ควรพิจารณาตามความเหมาะสมและเพิ่มการคุ้มครอง ดูแลในเรื่องสวัสดิการของข้าราชการไทยด้วย   23.18%
(1.3)  การขึ้นค่าจ้างให้แก่ “นักการเมือง / ส.ส.  ส.ว.”
อันดับ 1   ยังมองไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมหรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากพอ /มีแต่ทะเลาะกัน                       74.01%
อันดับ 2   ผู้ที่เข้ามาทำงานด้านการเมืองส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ที่มีฐานะมั่นคงพอสมควร /เป็นการอาสาเข้ามาทำงานเพื่อส่วนร่วม          14.29%
อันดับ 3   เงินเดือนที่ได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศถือว่ายังน้อยมาก/ไม่มีการขึ้นค่าจ้างให้แก่นักการเมือง/ส.ส. ส.ว.มานานแล้ว 11.70%

2. จากสินค้าที่มีราคาแพงและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ประชาชนคิดว่าสมควรขึ้นค่าจ้างแรงงานหรือไม่?
(2.1)  “ผู้ใช้แรงงาน”
อันดับ 1          สมควร            98.67%
เพราะ  ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่มีเงินเดือนน้อย รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ,ต้องแบกรับภาระหนี้สินจำนวนมาก  ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่สมควร           1.33%
เพราะ   อาจส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นไปอีก ,สภาพเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศในช่วงนี้ยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร  ฯลฯ
(2.2)  “ข้าราชการ”
อันดับ 1          สมควร            77.81%
เพราะ  เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการไทย , เป็นการรักษาข้าราชการที่ดีที่ตั้งใจทำงานให้อยู่ต่อไป ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่สมควร          22.19%
เพราะ  การขึ้นเงินเดือนต้องใช้เงินจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดิน ,ยังมีสวัสดิการอื่น ๆ
สำหรับช่วยเหลือข้าราชการและครอบครัว ฯลฯ
(2.3)  “นักการเมือง / ส.ส.  ส.ว.”
อันดับ 1          ไม่สมควร          86.40%
เพราะ  เงินเดือนที่ได้รับก็พอสมควรอยู่แล้ว ยังมีเบี้ยประชุมและเบี้ยค่าตอบแทนอื่นๆอีก,ควรช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานก่อนจะดีกว่า ฯลฯ
อันดับ 2          สมควร            13.60%
เพราะ  เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการบริหารบ้านเมืองและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง  ฯลฯ

3. ประชาชนคิดว่าจำนวนเงินที่จะปรับขึ้นเงินเดือนนั้นควรเป็นอย่างไร
อันดับ 1          ปรับตามอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอาชีพ                                                  87.96%
เพราะ   ควรศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนของรายรับ รายจ่ายในแต่ละอาชีพอย่างละเอียด ,ดูตัวอย่างเงินเดือนของต่างประเทศ ฯลฯ
อันดับ 2          ปรับขึ้นเท่ากันทุกกลุ่มอาชีพ                                                               12.04%
เพราะ  ประชาชนทุกคนไม่ว่าอาชีพใดก็ต้องกินใช้เหมือนกัน ,ภาระค่าใช้จ่ายของแต่ละคนก็เป็นเหมือนเงาตามตัว ฯลฯ

4. จากที่มีการประกาศว่าจะมีการปรับขึ้นเงินเดือน ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่
(4.1)  “ผู้ใช้แรงงาน” ขึ้นวันละ 8-17 บาท
อันดับ 1          เห็นด้วย                                71.84%
เพราะ  ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ,การปรับขึ้นเงินเดือนจะช่วยให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ,
ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องของค่าครองชีพที่มีราคาแพง  ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่เห็นด้วย                              28.16%
เพราะ   อาจส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆมีการปรับราคาให้สูงขึ้น ,จำนวนเงินที่ปรับขึ้นให้ยังน้อยไป  ฯลฯ
(4.2)  “ข้าราชการ” ขึ้น 5%
อันดับ 1          เห็นด้วย                                64.96%
เพราะ  ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีฐานะไม่ดีมีมาก ,ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2          ไม่เห็นด้วย                              35.04%
เพราะ   ข้าราชการไทยมีจำนวนมากต้องใช้งบประมาณสูง , บางคนทำงานไม่คุ้มค่า ควรมีการคัดกรองเป็นรายบุคคล ฯลฯ
(4.3)  “นักการเมือง / ส.ส.  ส.ว.” ขึ้น 14%
อันดับ 1          ไม่เห็นด้วย                              81.77%
เพราะ  คิดว่าเงินที่จะต้องเสียไปในการปรับขึ้นเงินเดือนไม่คุ้มค่าพอกับพฤติกรรมหรือเรื่องราวต่างๆที่นักการเมืองก่อขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2          เห็นด้วย                                18.23%
เพราะ  เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่ชาติ บ้านเมือง เป็นอาชีพที่ต้องมีความเสียสละอย่างมาก ฯลฯ

5. จากการปรับขึ้นเงินเดือนจะทำให้การทำงานของ ข้าราชการ ส.ส. ส.ว. มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่
อันดับ 1          เหมือนเดิม                              89.95%
เพราะ  เห็นได้จากพฤติกรรมของข้าราชการและนักการเมืองบางคนที่ผ่านมายังคงน่าผิดหวังเหมือนเดิม ,
ทำงานไม่คุ้มค่า มัวแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน  มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์  ฯลฯ
อันดับ 2          น่าจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น                   10.05%
เพราะ  เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจในการทำงาน ,เป็นการรักษาคนดี คนเก่ง ให้อยู่ต่อไป ฯลฯ

6.  สิ่งที่ประชาชนอยากฝากบอกในเรื่องของการปรับขึ้นเงินเดือนให้แก่กลุ่มบุคคลต่างๆ คือ
อันดับ 1   อยากให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องนี้ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม จริงใจ ตรงไปตรงมา                    40.18%
อันดับ 2   การขึ้นเงินเดือนเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้น / การพัฒนาประเทศชาติ
         เศรษฐกิจ และสังคมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้น        36.23%
อันดับ 3   คณะทำงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการปรับขึ้นเงินเดือนควรศึกษา พิจารณาข้อมูล
         รายละเอียดต่างๆให้รอบคอบ / คำนึงถึงผลดี — ผลเสีย ที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลัง                    23.59%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ