ในภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง ในปัจจุบันสตรีได้เข้ามามีบทบาทให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับทั้งในด้าน ความเป็นผู้นำและความสามารถ ตลอดจนพัฒนาสตรีให้ก้าวทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ “สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ร่วมกับ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 “รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง” ได้สอบถามความคิดเห็นและพร้อมกับเปิดรับความคิดเห็นผ่านระบบ sms จากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 2,029 คน ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1. คำว่า “สิทธิเสมอภาคของสตรี” ในทัศนะของประชาชน
อันดับ 1 ความเสมอภาคระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย 40.18%
อันดับ 2 การแสดงออก/การใช้สิทธิต่างๆที่มีอย่างเต็มที่ 18.33%
อันดับ 3 การได้รับโอกาสในการทำงาน/การประกอบอาชีพที่หลากหลาย 15.20%
อันดับ 4 ความสามารถในการดูแล /บทบาทของการเป็นผู้นำในครอบครัว 14.55%
อันดับ 5 ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายควรตระหนัก ให้ความสำคัญให้เกียรติ และเคารพยกย่องซึ่งกันและกันมากกว่านี้ 11.74%
2. เรื่องใด? ที่สตรีไม่ได้รับสิทธิเสมอภาค /สิทธิเท่าเทียมในสังคม
อันดับ 1 สตรียังโดนกดขี่เอาเปรียบจากเพศชาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกหยามเกียรติ /สามีนอกใจ มีเมียน้อย 43.29%
อันดับ 2 การดำรงตำแหน่งผู้บริหารของผู้หญิงในองค์กรต่าง ๆ 19.53%
อันดับ 3 สตรีต้องทำงานนอกบ้านและทำงานในบ้าน 13.99%
อันดับ 4 ภาพที่สังคมมองผู้หญิงทำแท้ง ท้องก่อนแต่ง 12.37%
อันดับ 5 สตรีได้รับเงินเดือนไม่เท่ากับผู้ชายในขณะที่มีตำแหน่งเท่ากัน 10.82%
3. “สิทธิเสมอภาคของสตรี ”ในบทบาททางการเมือง
อันดับ 1 สตรีควรได้รับโอกาสที่มากขึ้นในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 35.37%
อันดับ 2 สตรีสามารถเป็นผู้นำความคิดทางการเมือง 20.14%
อันดับ 3 การปรับบทบาทของตนเองทางการเมืองให้ไปสู่สากลหรือระดับอาเซียน 16.05%
อันดับ 4 ควรศึกษาผู้นำทางการเมืองที่เป็นสตรีที่เก่ง ดี เข้มแข็งมาเป็นแบบอย่าง เช่น อองซานซูจี อินทิรา คานธี เป็นต้น 14.64%
อันดับ 5 ต้องกล้าตัดสินใจ กล้าชน กล้าปะทะ ด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง 13.80%
--สวนดุสิตโพลล์--
-พห-