สวนดุสิตโพลล์: "คนไทย” กับ “วันรักการอ่าน”

ข่าวผลสำรวจ Friday April 1, 2011 09:56 —สวนดุสิตโพล

**คนไทย ยกย่อง “สมเด็จพระเทพฯ” ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของการอ่าน**

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันรักการอ่าน" และกำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต คนไทยจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสืออย่างต่อเนื่องและทั่วถึง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,304 คน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. ประเทศไทยควรมี “วันรักการอ่าน” หรือไม่ ?
อันดับ 1          ควรมี                       91.42%

เพราะ เป็นการกระตุ้นและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังนิสัยให้คนไทยรักการอ่าน ,เป็นการรณรงค์ที่ดี ควรส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่านมากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 2          ไม่ควรมี                      8.58%

เพราะ วันสำคัญมีเยอะแล้ว ,ควรมีการส่งเสริมให้รักการอ่านเป็นประจำทุกวัน ไม่ใช่แค่วันเดียว ,สิ้นเปลืองงบประมาณ , ไม่ได้ช่วยให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น ฯลฯ

2. ประชาชนรู้หรือไม่ว่า วันที่ 2 เมษายน เป็น “วันรักการอ่าน”
อันดับ 1          ไม่รู้                        60.98%

เพราะ ไม่ได้สนใจหรือติดตามข่าวสาร,ไม่ทราบว่าวันรักการอ่านเป็นวันใด เดือนใด ,ไม่เคยได้ยินจากการประชาสัมพันธ์จากสื่อต่างๆ ฯลฯ

อันดับ 2          รู้                          39.02%

จาก สื่อต่างๆ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ , สถานศึกษา ,อินเตอร์เน็ต เพื่อนและคนรอบข้าง ฯลฯ

3. ทำไม? คนไทยจึงไม่ค่อยรักการอ่าน
อันดับ 1          สภาพสังคม/สิ่งแวดล้อมรอบตัวของคนไทยในปัจจุบันมีเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น
                เช่น เกมส์  อินเตอร์เน็ต การแชท เป็นต้น                                            40.51%
อันดับ 2          ไม่ได้รับการปลูกฝังให้มีนิสัยรักการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ /ขาดต้นแบบ แบบอย่างที่ดีในการอ่าน          26.12%
อันดับ 3          คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะอ่านแล้วรู้สึกเบื่อ ไม่สนุก ง่วงนอน /จะชอบฟังหรือชอบดูมากกว่าอ่าน   20.09%
อันดับ 4          คนไทยไม่เห็นถึงประโยชน์หรือความสำคัญของการอ่าน /ขาดแรงกระตุ้น                         7.16%
อันดับ 5          หนังสือดีๆส่วนมากมีราคาแพง /หนังสือทั่วไปมีเนื้อหาไม่น่าสนใจ รูปเล่มไม่สวยงามหรือดึงดูดให้ซื้อ      6.12%

4. ทำอย่างไร? คนไทยจึงจะรักการอ่าน
อันดับ 1          ต้องส่งเสริมและปลูกฝังให้คนไทยรักการอ่านอย่างจริงจัง พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก /สร้างค่านิยม
                ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์                                                       58.65%
อันดับ 2          ควรมีการจัดกิจกรรม รณรงค์เรื่องการส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่องและจริงจัง                      16.56%
อันดับ 3          ผลิตหนังสือที่มีคุณภาพ เนื้อหาน่าอ่าน มีรูปภาพ สีสันสวยงาม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคนอ่าน              9.08%
อันดับ 4          จัดสถานที่หรือเพิ่มช่องทางให้บริการประชาชนที่สนใจอ่านหนังสือ เช่น มีห้องสมุด
                ตามสถานที่ราชการที่ทำงาน ,สถานที่อ่านหนังสือประจำชุมชน หมู่บ้าน เป็นต้น                         8.95%
อันดับ 5          เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเพื่อให้คนไทยเห็นถึงความสำคัญและข้อดีของการอ่าน  6.76%

5. อ่านอย่างไร? จึงจะทำให้ชีวิตมีความสุข
อันดับ 1          อ่านในเรื่องที่ชอบ สนใจ หรืออยากจะอ่าน                                   55.98%
อันดับ 2          เมื่ออ่านแล้วลองนำเนื้อหาสาระที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน          12.80%
อันดับ 3          เลือกอ่านหนังสือที่ให้สาระ ความรู้ และสอดแทรกความบันเทิง                     12.08%
อันดับ 4          จะต้องอ่านอย่างสร้างสรรค์ รู้จักคิด วิเคราะห์ตาม                             10.53%
อันดับ 5          การแบ่งเวลาในการอ่านให้เหมาะสม                                        8.61%

6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่าน คือ
อันดับ 1          ได้ความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้           69.22%
อันดับ 2          ความบันเทิง รู้สึกเพลิดเพลินไปกับการอ่าน                             14.46%
อันดับ 3          ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มุมมองใหม่ๆ                              8.79%
อันดับ 4          ทำให้เป็นคนที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์                                    3.91%
อันดับ 5          ทำให้เกิดสมาธิ มีสมาธิในการอ่าน                                    3.62%

7. หนังสือดีในดวงใจ คือ
อันดับ 1          หนังสือธรรมะ ปรัชญา                     31.53%
อันดับ 2          หนังสือชุดแฮรี่ พอตเตอร์                   23.42%
อันดับ 3          หนังสือบันเทิง นิตยสาร /นิยาย              19.82%
อันดับ 4          สามก๊ก                                13.50%
อันดับ 5          เพชรพระอุมา                           11.73%

8. นักเขียนไทยในดวงใจ คือ
อันดับ 1          ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช          24.64%
อันดับ 2          ทมยันตี                       23.18%
อันดับ 3          ท่าน ว.วชิรเมธี                21.01%
อันดับ 4          ท่านพุทธทาสภิกขุ                15.94%
อันดับ 5          วินทร์ เลียววารินทร์             15.23%

9. ใคร? ที่เป็นแบบอย่างของการรักการอ่าน

**คนไทยยกย่อง “สมเด็จพระเทพฯ” ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของการรักการอ่านมากที่สุด**

ในภาคส่วนสังคม คนไทยจัดอันดับผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของการรักการอ่าน ดังนี้

อันดับ 1          พ่อ/แม่                    77.47%
อันดับ 2          ครู/อาจารย์                14.71%
อันดับ 3          เพื่อน/คนใกล้ชิด              7.82%

10. “นักการเมือง” ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่าน คือ
อันดับ 1          นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ          33.80%
อันดับ 2          ทักษิณ ชินวัตร                    27.42%
อันดับ 3          ชวน หลีกภัย                     21.71%
อันดับ 4          ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช            10.67%
อันดับ 5          สมัคร สุนทรเวช                   6.40%

11. “ดารา /ศิลปิน” ที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการอ่าน คือ
อันดับ 1          แอน ทองประสม                  26.92%
อันดับ 2          เบิร์ด ธงไชย                    23.07%
อันดับ 3          กาละแมร์                       21.15%
อันดับ 4          นาวินต้า                        15.38%
อันดับ 5          โต๋ ศักดิ์สิทธิ์                     13.48%

12. รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่านมากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1          ไม่ค่อยได้ส่งเสริม                 38.72%

เพราะ รัฐบาลมีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการอยู่หลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องการเมืองที่ยังคงวุ่นวายอยู่ ฯลฯ

อันดับ 2          ค่อนข้างส่งเสริม                  29.84%

เพราะ ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่มีการจัดกิจกรรม โครงการต่างๆ เกี่ยวกับการอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ส่งเสริม                      11.58%

เพราะ ข่าวสารเกี่ยวกับการอ่านมีน้อย ขาดการประชาสัมพันธ์ที่จริงจังและต่อเนื่อง สนใจเพียงเฉพาะวันสำคัญเท่านั้น ฯลฯ

อันดับ 4          ส่งเสริมมาก                     11.28%

เพราะ กระทรวงศึกษาฯพยายามผลักดันและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ,การกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ฯลฯ

อันดับ 5          ไม่แน่ใจ                         8.58%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ