สวนดุสิตโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไร?กรณี "ไข่แพง"

ข่าวผลสำรวจ Tuesday April 26, 2011 15:07 —สวนดุสิตโพล

“ไข่แพง” ทำให้ประชาชนบริโภคไข่ลดลง 45.38% โดยหันไปบริโภค เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ นม และถั่ว แทน !!!

จากกรณีไข่ไก่มีราคาแพง โดยมีสาเหตุมาจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน น้ำท่วมในพื้นที่ทางการเกษตรหลายแห่งส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ ลดลง อีกทั้งราคาวัตถุดิบของอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้กระทรวงพาณิชย์ประกาศ 3 มาตรการแก้ปัญหาไข่แพง และคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะกลับ เข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 เดือน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภครายใหญ่ "สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในกรุงเทพฯ ปริมณฑล กรณี ไข่แพง จำนวนทั้งสิ้น 1,251 คน ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร? กรณี “ไข่แพง”
อันดับ 1 ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไข่ เป็นอาหารหลักของทุกครัวเรือน 34.26% อันดับ 2 มีผลมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน ราคาอาหารสัตว์แพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง 18.98% อันดับ 3 อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาไข่แพงโดยเร็ว /ตรวจสอบการกักตุนสินค้า 17.61% อันดับ 4 ไม่น่าเชื่อว่า ไข่ไก่ จะมีราคาแพงได้ขนาดนี้และบางที่ยังขาดตลาดอีกด้วย 16.20% อันดับ 5 กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าได้ ในขณะที่สินค้าอื่นๆ เช่น ผัก เนื้อสัตว์ น้ำมันพืชและเครื่องปรุงรสต่างๆ มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน 12.95% 2. กรณี “ไข่แพง” โดยมีสาเหตุจากสภาวะแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศทำให้ผลผลิตไข่ไก่ของเกษตรกรที่ออกสู่ท้องตลาดมีจำนวนลดลง ต้นทุนอาหารแพง และเงินบาทแข็งตัว จากคำอธิบายนี้ ประชาชนคิดว่าสมเหตุสมผลหรือไม่? อันดับ 1 สมเหตุสมผล 43.02%

เพราะ สภาพดินฟ้าอากาศมีผลกระทบต่อราคาอาหารสัตว์ ต้นทุนสูง ปริมาณการผลิตไข่ออกสู่ท้องตลาดลดลง

เป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ ฯลฯ

อันดับ 2 ไม่สมเหตุสมผล 29.68%

เพราะ น่าจะมีสาเหตุมาจากกลไกทางการตลาดและเรื่องของผลประโยชน์มากกว่า ฯลฯ

อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 27.30%

เพราะ อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องอื่น เช่น จากผู้ประกอบการรายใหญ่ พ่อค้าคนกลางและการจัดการปัญหาของรัฐบาล ฯลฯ

3. จากกรณี “ไข่แพง” ทำให้ประชาชนซื้อไข่ลดลงหรือไม่?
อันดับ 1 เท่าเดิม 52.59%

เพราะ เป็นอาหารหลักที่ต้องบริโภคเป็นประจำ ,ต้องใช้ไข่เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารทั้งคาว-หวาน ฯลฯ

อันดับ 2 ลดลง 47.41%

เพราะ รายได้เท่าเดิมแต่ไข่แพงขึ้น ,หาซื้อไข่ได้ยากขึ้นเพราะบางแห่งหมดเร็ว /มีไข่มาจำหน่ายน้อยลงหรือไม่มีเลย ฯลฯ

4. จากกรณี “ไข่แพง” ทำให้ประชาชนบริโภคไข่ลดลงหรือไม่?
อันดับ 1 เท่าเดิม 54.62%

เพราะ เป็นอาหารหลักที่ต้องบริโภคเป็นประจำแทบทุกวัน ชอบอาหารที่ทำจากไข่หรือมีไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ไข่เจียว

ไข่ดาว ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ เป็นต้น

อันดับ 2 ลดลง 45.38%

เพราะ ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ในครอบครัวมีหลายคน ,สินค้าชนิดอื่นๆก็มีราคาแพงเช่นกัน ฯลฯ

5. กรณี “ไข่แพง” ประชาชนแก้ปัญหาโดยบริโภคอะไร ? แทน
อันดับ 1 บริโภคอย่างอื่นแทน เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ นม และถั่ว เป็นต้น 57.39% อันดับ 2 ยังบริโภคเหมือนเดิม เพราะเป็นอาหารหลักที่ชื่นชอบและทานง่าย 34.57% อันดับ 3 หยุดบริโภคไข่ไปก่อนจนกว่าราคาจะถูกลง 8.04% 6. ประชาชนมีวิธีแก้ปัญหา “ไข่แพง” อย่างไร? อันดับ 1 ลดปริมาณการบริโภคไข่ให้น้อยลงหรือบริโภคอาหารชนิดอื่นแทน 49.72% อันดับ 2 ลดราคาต้นทุนในการผลิต เช่น วัคซีน อาหารสัตว์ 20.14% อันดับ 3 ควบคุม /พยุงราคาสินค้าไม่ให้แพงกว่านี้ 13.19% อันดับ 4 จัดร้านธงฟ้า จำหน่ายไข่ราคาถูกกว่าท้องตลาด 12.78% อันดับ 5 จำกัดการส่งออกไข่ไก่ไปต่างประเทศ 4.17% --สวนดุสิตโพลล์-- -พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ