สวนดุสิตโพลล์: “การช่วยเหลือน้ำท่วม” ในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday September 26, 2011 07:33 —สวนดุสิตโพล

จากสถานการณ์น้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ในขณะที่รัฐบาลหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนต่างเร่งให้การช่วยเหลือและเฝ้าติดตามรายงานสถานการณ์น้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาให้ถูกจุดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 2,019 คน ระหว่างวันที่ 19-24 กันยายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. “หน่วยงาน” ที่ประชาชนพึงพอใจในการช่วยเหลือน้ำท่วม
อันดับ 1          สื่อมวลชน                                    26.88%
อันดับ 2          รัฐบาล                                      25.50%
อันดับ 3          หน่วยงานเอกชนในจังหวัด /บริษัท /ห้างร้าน          18.52%
อันดับ 4          อบต./จังหวัด หน่วยงานราชการ                   17.34%
อันดับ 5          ฝ่ายค้าน                                     11.76%

2. “จุดเด่น” ในการช่วยเหลือน้ำท่วมที่ประชาชนพึงพอใจ /ประทับใจ
อันดับ 1          ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยได้รวดเร็วมากขึ้น                     39.49%
อันดับ 2          การช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น การบริจาคเงิน อาหาร เสื้อผ้า ของใช้ที่จำเป็น ฯลฯ          25.67%
อันดับ 3          ความมีน้ำใจของคนไทย /การได้รับความช่วยเหลือต่าง ๆ จากคนไทยด้วยกัน                   18.11%
อันดับ 4          สื่อมวลชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือน้ำท่วมครั้งนี้อย่างมาก /ทั้งในด้านการนำเสนอข่าวสาร
                การตรวจสอบในเรื่องต่างๆ และพยายามเข้าถึงพื้นที่ที่ถูกตัดขาด                             13.09%
อันดับ 5          การดูแลช่วยเหลือกันเองในครอบครัว /บ้านใกล้เรือนเคียง หรือในบริเวณชุมชนเดียวกัน            3.64%

3. “จุดด้อย” ในการช่วยเหลือน้ำท่วมที่ประชาชนอยากให้เร่งแก้ไข
อันดับ 1          บางพื้นที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ /การช่วยเหลือไม่ทั่วถึง /อาหารและน้ำไม่เพียงพอ            56.70%
อันดับ 2          การคาดการณ์หรือการประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้น /การแจ้งข่าว เตือนภัยเพราะกลัวว่า
                จะมีฝนตกลงมาอีกหรือการปล่อยน้ำจากที่อื่นมาสมทบ                                      27.11%
อันดับ 3          ขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับน้ำท่วม เช่น การจัดเตรียมสถานที่รองรับหรือที่พักชั่วคราว
                ให้กับผู้ประสบภัย                                                                6.92%
อันดับ 4          การประสานงาน /การแจ้งข่าว/การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆกับพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมยังไม่ดีพอ   5.40%
อันดับ 5          เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในเรื่องน้ำท่วม เช่น กระสอบทราย ห้องส้วม  สะพาน
                ทางเดิน เครื่องสูบน้ำ ตามพื้นที่ต่างๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ                            3.87%

4. ประชาชนคิดว่าการวางแผนเตรียมรับมือป้องกันน้ำท่วมในกรุงเทพฯ  จะสามารถป้องกันได้มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          น่าจะป้องกันได้บ้าง             59.85%

เพราะ การบริหารจัดการ การระบายน้ำน่าจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น ,มีเวลา

ในการเตรียมการมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ฯลฯ

อันดับ 2          ป้องกันน้ำท่วมได้แน่นอน          24.49%

เพราะ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงและเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญ ดังนั้นจะต้องมีการป้องกันอย่างเต็มที่ ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่น่าจะป้องกันได้              11.77%

เพราะ ดูจากพื้นที่ที่ประสบภัยในจังหวัดต่างๆ ถึงจะมีการเตรียมพร้อมอย่างไร? ก็ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ทั้งหมด ฯลฯ

อันดับ 4          ป้องกันไม่ได้                   3.89%

เพราะ ปริมาณน้ำในปีนี้มีมากกว่าทุกปี และยังมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ,แผ่นดินทรุดตัว ฯลฯ

5. ประชาชนอยากให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าว กรณี น้ำท่วมอย่างไร?
อันดับ 1          การรายงานสด นำเสนอภาพข่าวในพื้นที่ที่เดือดร้อน /สัมภาษณ์ประชาชนเพื่อรับฟังปัญหา
                และนำมาแก้ไขให้ตรงจุด                                                            32.22%
อันดับ 2          นอกจากการนำเสนอข่าวแล้ว สื่อควรเป็นตัวกลางในการรับความช่วยเหลือโดยการจัดตั้งกองทุน
                รับบริจาค และจะต้องชี้แจงยอดรายรับ-รายจ่ายอย่างโปร่งใส                                 30.18%
อันดับ 3          รายงานข่าวรวดเร็ว /เกาะติดสถานการณ์ /ทันเหตุการณ์                                    15.52%
อันดับ 4          ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการป้องกันดูแลตัวเองเมื่อประสบภัยน้ำท่วมอย่างถูกต้องโดยเชิญ
                นักวิชาการหรือผู้ที่รู้จริงมาพูด                                                         12.95%
อันดับ 5          การรายงานสภาพน้ำท่วมในภาพรวมจากทุกภาคของประเทศอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง                 9.13%

6.  แก้ไขน้ำท่วมอย่างไร? จึงจะถูกใจประชาชน
อันดับ 1          การชดเชย เยียวยาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยไม่ให้เกิดความเครียดหรือซึมเศร้า          27.19%
อันดับ 2          การให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ปลูกป่า ขุดลอกคูคลอง /ตรวจสอบความแข็งแรงของเขื่อนฝายน้ำทุกแห่ง          25.14%
อันดับ 3          การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง /จัดตั้งผู้รับผิดชอบหรือศูนย์กลางในการดำเนินงานที่ชัดเจน          22.88%
อันดับ 4          การเฝ้าระวังเพื่อจะได้แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าอย่าง ชัดเจน แม่นยำและทั่วถึงทุกพื้นที่          17.23%
อันดับ 5          ภาครัฐต้องเอาจริงเอาจัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบริหารจัดการเรื่องน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ /
                การจัดทำแผนที่ /เส้นทางน้ำทั่วประเทศ            7.56%
7.  บทเรียนที่ได้รับจากน้ำท่วมในครั้งนี้ คือ
อันดับ 1          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการเตรียมพร้อมที่รวดเร็วและทันสถานการณ์ เช่น การแจ้งข่าว เตือนภัย          46.17%
อันดับ 2          การให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อไม่มีป่าไม้นอกจากน้ำท่วมแล้วยังมีดินโคลนถล่มด้วย          23.91%
อันดับ 3          ประเทศชาติได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน          19.47%
อันดับ 4          เมื่อคนไทยประสบภาวะวิกฤต จะได้รับน้ำใจ ความช่วยเหลือต่าง ๆ จากคนไทยด้วยกัน            8.13%
อันดับ 5          ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต้องอดทน มีสติ /มีจิตใจเข้มแข็งจนกว่าสถานการณ์น้ำจะคลี่คลาย            2.32%

--สวนดุสิตโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ