หลังจากที่การอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 เสร็จสิ้นลง โดยที่ประชุมมีมติผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 292 เสียง ต่อ 155 เสียง และมีผู้งดออกเสียง 27 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและเป็นฐานข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้อง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามการอภิปรายทั่วประเทศ จำนวน 1,139 คน ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม — 1 มิถุนายน 2556 สรุปผลดังนี้
1. สิ่งที่ประชาชน ประทับใจ/พอใจ ในการอภิปรายครั้งนี้ คือ
อันดับ 1 ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างเตรียมตัวมาดี มีข้อมูลเอกสารต่างๆประกอบการอภิปราย 42.47%
อันดับ 2 ได้รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น 31.50%
อันดับ 3 การอภิปรายเสร็จสิ้นลงตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่ยืดเยื้อ 20.55%
อันดับ 4 บรรยากาศโดยรวมเป็นไปด้วยดี ไม่มีวอล์คเอ้าท์ ไม่มีการกระทบกระทั่งที่รุนแรง 5.48%
2. สิ่งที่ประชาชน ไม่ประทับใจ/ไม่พอใจ ในการอภิปรายครั้งนี้ คือ
อันดับ 1 ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังคงโต้เถียง ทะเลาะเบาะแว้ง ลุกขึ้นประท้วงเหมือนเดิม 34.88%
อันดับ 2 พูดนอกประเด็น นำเรื่องเก่ามาพูด พูดไม่ตรงตามหัวข้อการอภิปราย 30.23%
อันดับ 3 ไม่เคารพประธาน ไม่ฟังสิ่งที่ประธานพูด ลุกขึ้นประท้วงท่านประธาน 27.91%
อันดับ 4 ระหว่างที่มีการอภิปรายมี ส.ส.บางคนลุกเดินออกจากที่ประชุม / ไม่ตั้งใจฟัง 6.98%
3. ระหว่าง “ฝ่ายรัฐบาล” กับ “ฝ่ายค้าน” ประชาชนเชื่อข้อมูลของใคร? มากกว่ากัน
อันดับ 1 ไม่เชื่อทั้ง 2 ฝ่าย 38.59%
เพราะ มีแต่การโต้เถียงทะเลาะเบาะแว้ง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว หยิบยกแต่เรื่องเก่าๆ นอกประเด็นมาพูด ฯลฯ
อันดับ 2 เชื่อพอๆกัน 24.07%
เพราะ ต่างฝ่ายต่างมีข้อมูล เหตุผลมาหักล้างพอๆกัน พูดโต้ตอบได้ดีทั้ง 2 ฝ่าย ฯลฯ
อันดับ 3 เชื่อ“ฝ่ายรัฐบาล” มากกว่า 20.74%
เพราะ สามารถชี้แจงได้ทุกประเด็น สิ่งที่รัฐบาลทำก็เพื่อต้องการช่วยเหลือประชาชนและพัฒนาประเทศ หวังได้รับการ
สนับสนุน ยอมรับและความไว้วางใจจากประชาชน ฯลฯ
อันดับ 4 เชื่อ“ฝ่ายค้าน” มากกว่า 16.60%
เพราะ เอกสารหลักฐานที่นำมาดูน่าเชื่อถือ มีน้ำหนัก มีการเตรียมตัวมาดี ฯลฯ
4. ประชาชนเห็นด้วยกับผลโหวต /การลงมติ
อันดับ 1 เฉยๆ 44.58%
เพราะ เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการประชุมสภาเพื่อพิจารณางบประมาณประจำปี ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 28.75%
เพราะ อยากเห็นบ้านเมืองพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ประชาชนทุกคนจะได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 26.67%
เพราะ รัฐบาลมีเสียงข้างมากอยู่แล้วย่อมชนะการโหวตเป็นธรรมดา การชี้แจงรายละเอียดการใช้งบประมาณในบาง
เรื่องยังไม่ชัดเจน ฯลฯ
5. ประชาชนคิดว่า “การเมืองไทย” หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 ยังคงมีความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง และแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเหมือนเดิม 43.30%
อันดับ 2 ยังคงทุจริตคอรัปชั่น เห็นแก่อำนาจและผลประโยชน์ส่วนตน 23.71%
อันดับ 3 สังคมไทยให้ความสนใจและติดตามตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองมากขึ้นโดยเฉพาะการใช้
งบประมาณ การพัฒนาและการบริหารประเทศของรัฐบาล 20.62%
อันดับ 4 ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ยังหาบทสรุปที่แน่นอนไม่ได้ 12.37%
--สวนดุสิตโพลล์--