สวนดุสิตโพลล์: การอภิปรายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณี ที่มาของ ส.ว.

ข่าวผลสำรวจ Monday August 26, 2013 07:51 —สวนดุสิตโพล

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ติดตามการอภิปรายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณี ที่มาของ ส.ว. เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการอภิปราย จำนวน 1,128 คน ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2556 สรุปผลดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน ต่อ การอภิปรายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณี ที่มาของ ส.ว.
อันดับ 1   เหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมาจะต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง พูดจาส่อเสียด ประท้วงกันวุ่นวาย                    51.18%
อันดับ 2   เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และตัวนักการเมืองเองมากกว่า                                    17.65%
อันดับ 3   ทำให้ประชาชนได้ทราบถึงเหตุผล มุมมองและความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย                                12.35%
อันดับ 4   อยากให้มีการถ่ายทอดตลอดการประชุม                                                          9.99%
อันดับ 5   เป็นเรื่องสำคัญที่ควรพูดถึงเนื้อหาสาระ พิจารณาอย่างเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม                     8.83%

2.  “จุดเด่น” ในการอภิปรายครั้งนี้
อันดับ 1   ประชาชนได้รู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงและเข้าใจเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว.มากขึ้น                                40.51%
อันดับ 2   การเตรียมพร้อมในเรื่องเอกสารและข้อมูลที่นำมาอภิปราย                                           26.58%
อันดับ 3   ที่มาของ ส.ว.เป็นเรื่องสำคัญและสังคมให้ความสนใจว่าผลจะออกมาอย่างไร                             25.32%
อันดับ 4   เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายและรัฐบาลได้ชี้แจง                                          5.06%
อันดับ 5   การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลความเรียบร้อยในสภา                                             2.53%

3.  “จุดด้อย” ในการอภิปรายครั้งนี้
อันดับ 1   การทะเลาะเบาะแว้งระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล                                                  39.19%
อันดับ 2   การใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม  คำพูดส่อเสียด พาดพิงถึงบุคคลอื่น พูดนอกประเด็น                     20.27%
อันดับ 3   การควบคุมการอภิปรายของประธานสภา                                                        18.24%
อันดับ 4   มีการประท้วงเกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้ต้องพักการประชุม ทำให้เสียเวลาในการอภิปราย                        12.16%
อันดับ 5   ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายการเมืองมากขึ้นและเอือมระอากับพฤติกรรมของส.ส.ในสภา                        10.14%

--สวนดุสิตโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ