จากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ทำให้คนในยุคนี้จำเป็นต้องปรับตัว และพัฒนาตนเองอยู่เสมอด้วยวิธีการเพิ่มเติมทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ทั้งในแง่การทำงานและใช้ชีวิต เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี สิ่งที่คนไทย ?อยากเรียนรู้? ในปี 2020 จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 23-26 พฤศจิกายน 2563 สรุปผลได้ ดังนี้
*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง สิ่งที่คนไทยอยากเรียนรู้ในปี 2020 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,089 คน สำรวจ ระหว่างวันที่ 23 ? 26 พฤศจิกายน 2563 พบว่า คนไทยอยากเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี ร้อยละ 65.63 รองลงมาคือ การดูแลสุขภาพ ร้อยละ 60.11 สาเหตุที่อยาก เรียนรู้เพิ่มเติมเพราะเพื่อให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ร้อยละ 66.82 ทันสมัย ร้อยละ 52.59 โดยอยากเรียนรู้ผ่านยูทูปเป็นตอน ๆ ร้อยละ 68.81 หน่วยงานจัดอบรมที่สนใจคือ สถาบันการศึกษาที่ฝึกอาชีพ ร้อยละ 58.36 ควรอบรมประมาณ 1 วัน ร้อยละ 37.33 ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท
ปี 2020 กำลังจะผ่านไป คนไทยจึงอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ในปี 2021 ทักษะทางด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สนใจมากที่สุด รองลงมา คือเรื่องสุขภาพซึ่งก็สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังสนใจความรู้เกี่ยวกับการหารายได้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงภาษาที่สองและสาม สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยพร้อมจะพัฒนาตนเองเพื่อเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ก้าวทันโลก ทันสมัย สร้างรายได้ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั่นเอง
นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533
จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล เห็นได้ว่าคนไทยรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อวิถีการดำเนินชีวิต เป็น สาเหตุให้คนไทยต้องตื่นตัวที่จะเรียนรู้ให้เท่าทันในเทคโนโลยีใหม่ อีกประเด็นที่สนใจอยากเรียนรู้คือ เรื่องสุขภาพ เห็นได้จากกิจกรรมเพื่อสุขภาพเป็นที่นิยมมากขึ้น ทั้งการวิ่ง ฟิตเนส โยคะ หรือแม้กระทั่งมวยไทย คนไทยจึงสนใจการเรียนรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธีตามช่วงวัย รวมถึงโภชนาการอาหารที่เหมาะสม โดยรูปแบบการเรียนรู้เป็นรูปแบบใหม่ คือ เรียนจาก Application YouTube ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย
แต่จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าเนื้อหาใน YouTube ถ้าผลิตจากสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับจะได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนการอบรม ในรูปแบบเดิม คนไทยยังไว้วางใจที่จะมาอบรมที่สถาบันการศึกษา โดยระยะเวลาในการอบรมขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะมาอบรม ส่วนค่าอบรมขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าระหว่างเงินที่ จ่ายกับสิ่งที่จะได้กลับมาเพื่อพัฒนาให้มีชีวิตที่ดีขึ้น
ดร.วรเวชช์ อ่อนน้อม
ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 089-1434749
ที่มา: สวนดุสิตโพล