สวนดุสิตโพล: การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19

ข่าวผลสำรวจ Monday April 5, 2021 08:09 —สวนดุสิตโพล

สถานการณ์หลังจากที่มีโควิด-19 ประชาชนต้องงดการออกไปเที่ยวในช่วงวันหยุดหรือวันหยุดยาว ทำให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน เป็นการกระตุ้นให้คนไทยหันมาท่องเที่ยวภายในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,265 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 29 มี.ค.- 1 เม.ย. 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ก่อนมีโควิด-19 และ เมื่อมีโควิด-19 ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศบ่อยเพียงใด
ที่          ก่อนมีโควิด-19          ภาพรวม          ที่          เมื่อมีโควิด-19          ภาพรวม
1          2-3 เดือนครั้ง                           39.37%          1          ไม่เที่ยวเลย                             59.29%
2          เดือนละครั้ง                            25.69%          2          2-3 เดือนครั้ง                           24.74%
3          เดือนละ 2-3 ครั้ง          12.25%          3          เดือนละครั้ง                            6.40%

2. หลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศบ่อยเพียงใด
อันดับ 1          2-3 เดือนครั้ง                           37.94%
อันดับ 2          ไม่เที่ยวเลย                              31.46%
อันดับ 3          เดือนละครั้ง                            16.36%

3. กรณีที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการ/มาตรการของรัฐ ทำให้ประชาชนกล้าใช้จ่ายมากขึ้นหรือไม่
อันดับ 1          ใช้จ่ายเท่าเดิม          43.87%
อันดับ 2          ใช้จ่ายมากขึ้น                           39.26%
อันดับ 3          ไม่กล้าใช้จ่าย                            8.49%

4. ประชาชนพึงพอใจต่อโครงการ/มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
อันดับ 1          เพิ่มวันหยุดพิเศษ          80.47%
อันดับ 2          ชิมช้อปใช้          79.13%
อันดับ 3          เราเที่ยวด้วยกัน          67.67%
อันดับ 4          ทัวร์เที่ยวไทย          67.58%
อันดับ 5          แพ็คเกจกำลังใจ          63.25%

5. ปัจจัยใดที่จะกระตุ้นให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ
อันดับ 1          ครอบครัว/เพื่อน/ตนเองอยากไปเที่ยว                   63.40%
อันดับ 2          มีวันหยุดยาวเพิ่มขึ้น          48.93%
อันดับ 3          จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง          47.89%
อันดับ 4          ที่พัก/โรงแรม/สายการบินมีส่วนลด มีโปรโมชั่น          47.57%
อันดับ 5          มีเงินเก็บเพียงพอ                                            45.98%

6. ในภาพรวม ประชาชนเห็นด้วยกับมาตรการการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะโควิด-19 หรือไม่
           เห็นด้วย 75.18%          ไม่แน่ใจ 15.42%         ไม่เห็นด้วย 9.40%
*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)








สรุปผลการสำรวจ : การกระตุ้นเศรษฐกิจ (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19
           สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?การกระตุ้นเศรษฐกิจ                             (การท่องเที่ยว) ในยุคโควิด-19? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,265 คน สำรวจวันที่ 29 มี.ค. ? 1 เม.ย. 2564 พบว่า ก่อนมี      โควิด-19 ประชาชนท่องเที่ยวประมาณ 2-3 เดือนครั้ง เมื่อมีโควิด-19 ไม่เที่ยวเลย แต่เมื่อมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ประชาชนท่องเที่ยว 2-3 เดือนครั้ง กรณีที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐก็ยังคงใช้จ่ายเท่าเดิม ร้อยละ 43.87 โดยมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวที่พึงพอใจมากที่สุด คือ การเพิ่มวันหยุดพิเศษ ร้อยละ 80.47 ปัจจัยที่ทำให้อยากไปท่องเที่ยว                       คือ ครอบครัว/เพื่อนและตนเองอยากไป ร้อยละ 63.40 รองลงมาคือ มีวันหยุดยาว ร้อยละ 48.93 และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง ร้อยละ 47.89 ภาพรวมเห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ร้อยละ 75.18

ถึงแม้จะมีมาตรการออกมากระตุ้นทำให้คนออกไปท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณเม็ดเงินที่ใช้จ่ายกลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น เพราะประชาชนยังมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ ภาครัฐจึงควรเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการมีมาตรการ ที่ดีด้านสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ กล้าที่จะเดินทางและกล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบที่แท้จริง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่กินระยะเวลามากว่า 1 ปี คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักให้กับประเทศไทยโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และที่มาของรายได้หลักของคนไทยส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว โดยเมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวดิ่งไปถึงจุดที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเลยตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ก็ทำให้ประชาชนคนไทยมากกว่าร้อยละ 70 ได้รับผลกระทบในทันที และยิ่งกินระยะเวลายาวนานยิ่งทำให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของภาครัฐจึงเป็นแนวทางที่ดีที่นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดให้คนไทยได้บ้างแล้ว ยังจะเป็นการเสริมสภาพคล่องเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาได้ทั้งระบบก็ตามแต่อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยมีรอยยิ้มขึ้นได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงเฝ้ารอการเร่งคืนสภาพเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในภาพรวมให้ได้โดยเร็ว โดยภาครัฐจะต้องใช้มาตรการเชิงรุกเร่งผลักดันประเทศไทยสู่ประเทศปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่เพื่อเป็นการต่อลมหายใจให้คนไทยทั้งประเทศ

ผศ.ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์

ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานบริการ (หลักสูตรนานาชาติ)

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ