สวนดุสิตโพล: คนไทยได้อะไร? จากการ “อภิปรายไม่ไว้วางใจ”

ข่าวผลสำรวจ Monday September 13, 2021 11:01 —สวนดุสิตโพล

ภายหลังจากที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรายบุคคลเสร็จสิ้นลง และผลลงมติผ่านทั้งคณะ                      แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อการอภิปรายยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,306 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 6-9 กันยายน 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ?จุดเด่น-จุดด้อย? ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งล่าสุดนี้ คือ
ที่          จุดเด่น           ภาพรวม          ที่          จุดด้อย           ภาพรวม
1          เปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลได้แสดงความคิดเห็น          55.76%          1          ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ โต้ตอบกันรุนแรง           50.82%
2          ฝ่ายค้านมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาประกอบการอภิปราย          44.31%          2          เล่นเกมการเมืองมากเกินไป                    49.26%
3          ทำให้รู้ทันนักการเมือง          43.76%          3          ไม่เป็นการเมืองที่สร้างสรรค์          48.57%
4          ประธานชวน หลีกภัย ควบคุมการอภิปรายได้ดี          42.59%          4          ฝ่ายรัฐบาลชี้แจง ตอบข้อซักถามไม่ชัดเจน               46.46%
5          เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล          37.80%          5          ประท้วงบ่อย ทำให้เสียเวลา                 43.20%

2. สิ่งที่ประชาชนได้รับจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
อันดับ 1          เห็นการทำหน้าที่ของ ส.ส. ในสภา          45.29%
อันดับ 2          ได้รู้จักนักการเมืองแต่ละคนมากขึ้น          44.44%
อันดับ 3          เห็นจุดเด่น จุดด้อยของรัฐบาล              42.96%
อันดับ 4          เสียเวลา น่าเบื่อ          40.62%
อันดับ 5          เห็นการทำงานของฝ่ายค้าน               39.61%

3. หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ประชาชนคิดว่าการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร
          เหมือนเดิม 54.67%            แย่ลง 36.68%         ดีขึ้น 8.65%

4. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึง ?ฝ่ายรัฐบาล? และ ?ฝ่ายค้าน?
ที่          ฝ่ายรัฐบาล          ภาพรวม          ที่          ฝ่ายค้าน          ภาพรวม
1          แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน                74.31%          1          ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างจริงจัง              63.79%
2          แก้ปัญหาเรื่องวัคซีน              68.79%          2          ช่วยประชาชนที่ร้องเรียน/เดือดร้อน                         58.21%
3          ทำงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้                  66.90%          3          ควรมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจนมากขึ้น                 55.07%
4          ช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจัง          60.99%          4          ร่วมมือกับรัฐบาลทำประโยชน์ให้ประชาชน              54.52%
5          อยากให้ฟังเสียงประชาชน                52.72%          5          ค้านอย่างเหมาะสม               52.40%


*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)


สรุปผลการสำรวจ : คนไทยได้อะไร? จากการ ?อภิปรายไม่ไว้วางใจ?

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี คนไทยได้อะไร? จากการ ?อภิปรายไม่ไว้วางใจ? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,306 คน สำรวจระหว่างวันที่ 6-9 กันยายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าจุดเด่นของการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ คือ เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลได้แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 55.76 จุดด้อย คือ มีการใช้คำไม่สุภาพ โต้ตอบกันรุนแรง ร้อยละ 50.82 สิ่งที่ประชาชนได้รับ คือ ทำให้เห็นการทำหน้าที่ของ ส.ส. ในสภา ร้อยละ 45.29 หลังการอภิปรายคิดว่าการเมืองไทยน่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 54.67 สิ่งที่อยากฝากบอกรัฐบาล คือ เร่งแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ร้อยละ 74.31 และอยากให้ฝ่ายค้านตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างจริงจัง ร้อยละ 63.79 การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ถึงแม้จะไม่มีการยุบสภาดังเช่นในอดีต แต่ก็ทำให้เห็นท่าทีทางการเมืองของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะ ?รอยร้าว? ที่มีอยู่ทั้งสองฝ่าย ประชาชนเองก็ได้รับรู้ข้อมูลจากการอภิปรายครั้งนี้ โดยมองว่าการเมืองไทยหลังจากนี้ก็ยังคงเหมือนเดิม จึงอยากให้รัฐบาลหันมาเร่งแก้ปัญหาปากท้องและเร่งฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าคนไทยค่อนข้างจะชินชาต่อการคงอยู่ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประชาชนมากกว่าครึ่งเห็นว่าการเมืองไทยน่าจะยังเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อีกนัยหนึ่ง คือ การสะท้อนว่าประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลุดออกจากการเป็นรัฐบาลได้ เพราะอย่างไรก็ดี ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลที่มีต่อนายกรัฐมนตรีก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากนัก อีกทั้งในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลที่เผชิญกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต่างก็รอดพ้นจากการลงมติไม่ไว้วางใจแทบทั้งสิ้น จึงอาจกล่าว                ได้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่ผ่านมานั้น ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงข้อมูลหรือตอบข้อคำถาม                      ที่ประชาชนสงสัย ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถอธิบายให้คำตอบได้อย่างแจ่มชัด การนำเสนอข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ของฝ่ายค้าน                               จึงเปรียบเสมือนการฝังเมล็ดแห่งความคลางแคลงใจต่อการทำงานของรัฐบาลในใจของประชาชนเสียมากกว่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กัญญกานต์ เสถียรสุคนธ์
โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ