สวนดุสิตโพล: ภาวะหนี้สินของคนไทย ณ วันนี้

ข่าวผลสำรวจ Monday November 29, 2021 08:31 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: ภาวะหนี้สินของคนไทย ณ วันนี้

/

ปัญหาหลักของคนไทย ณ วันนี้ ยังคงเป็นเรื่องรายได้ รายจ่าย และหนี้สินที่นับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อโควิด-19 ระบาด ก็ยิ่งกระทบต่อชีวิตของประชาชนมากขึ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีหนี้สินทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2564 สรุปผล ได้ดังนี้ 1. ประชาชนมีหนี้สินประเภทใดบ้าง

อันดับ 1          บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล              46.52%
อันดับ 2          สินเชื่อที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ ฯลฯ          39.85%
อันดับ 3          ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน              35.46%
อันดับ 4          รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์             30.79%
อันดับ 5          การศึกษา ค่าเล่าเรียน กยศ.                  15.73%

2. ประชาชนมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ  1,248,847.03 บาท
    น้อยกว่า 500,000 บาท  48.18%                         1,000,000 ? 2,999,999 บาท  22.85%
    3,000,000 บาทขึ้นไป 15.26%                    500,000 ? 999,999 บาท 13.71%
3. ประชาชนคิดว่าจะใช้หนี้ได้หมดหรือไม่
     น่าจะใช้หนี้ได้ทั้งหมด 71.11%         ไม่แน่ใจ 15.20%       ไม่น่าจะใช้หนี้ได้ทั้งหมด 13.69%
4. ประชาชนเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สินอยู่ในระดับใด
     เครียดและวิตกกังวลปานกลาง 38.15%               เครียดและวิตกกังวลน้อย 31.49%
     เครียดและวิตกกังวลมาก 22.74%                     ไม่เครียดและไม่วิตกกังวล 7.62%
5. พฤติกรรมของประชาชนหลังจากการมีภาระหนี้สิน
อันดับ 1          วางแผนการใช้จ่ายรัดกุมมากขึ้น                 60.23%
อันดับ 2          ทำงานมากขึ้น หารายได้เสริม                    55.04%
อันดับ 3          ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการหนี้ ลดดอกเบี้ย                  40.25%
อันดับ 4          เสี่ยงโชคเพื่อหาเงินใช้หนี้          31.51%
อันดับ 5          หยิบยืมเงินคนรอบตัวมากขึ้น          25.36%

6. ประชาชนคิดว่าควรแก้ปัญหาหนี้สินอย่างไร
อันดับ 1          แก้ด้วยตนเอง มีวินัย วางแผนการใช้จ่าย อดออม          80.88%
อันดับ 2          รัฐปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้           61.85%
อันดับ 3          เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มรายได้ จ้างงานมากขึ้น           52.81%
อันดับ 4          ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการจัดการหนี้          31.30%
อันดับ 5          สถาบันทางการเงินช่วยวางแผนทางการเงิน                23.31%

7. ใคร? จะช่วยเรื่องปัญหาหนี้สินได้
อันดับ 1          ตัวเอง            89.23%
อันดับ 2          ครอบครัว คนใกล้ชิด                46.33%
อันดับ 3          ธนาคาร          36.70%
อันดับ 4          สหกรณ์ออมทรัพย์                     22.97%
อันดับ 5          โรงรับจำนำ                 11.25%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)







สรุปผลการสำรวจ : ภาวะหนี้สินของคนไทย ณ วันนี้

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเฉพาะผู้ที่มีหนี้สินทั่วประเทศต่อกรณี ?ภาวะหนี้สินของคนไทย? จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชน                  มีหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลมากที่สุด ร้อยละ 46.52 รองลงมาคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ร้อยละ 39.85 มีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 1,248,847.03 บาท โดยคาดว่าใช้หนี้ได้ทั้งหมด ร้อยละ 71.11 รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สินปานกลาง ร้อยละ 38.15  เมื่อมีหนี้สินจึงวางแผนการใช้จ่ายให้รัดกุมมากขึ้น ร้อยละ 60.23 ทั้งนี้การแก้ปัญหาหนี้สินต้องแก้ด้วยตนเอง มีวินัย วางแผนการใช้จ่าย อดออม ร้อยละ 80.88 รองลงมาคือ รัฐปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 61.85 และมองว่า ?ตนเอง? ที่จะช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้ ร้อยละ 89.23 รองลงมาคือ ครอบครัว         คนใกล้ชิด ร้อยละ 46.33
จากผลการสำรวจ พบว่า กลุ่มที่มีหนี้บัตรเครดิตมากที่สุด คือ พนักงานเอกชน และราชการ ส่วนกลุ่มลูกจ้าง/รับจ้างส่วนใหญ่มีหนี้น้อยกว่า 5 แสนบาท กลุ่มราชการมีหนี้ประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป โดยกลุ่มลูกจ้าง/รับจ้างมีความเครียดเกี่ยวกับหนี้สินมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อาจเป็นเพราะความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ตัวเลขคนตกงานพุ่งสูงขึ้นถึง 8.7 แสนคน ปัญหาหนี้สินจึงเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชน และก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา ภาครัฐจึงควรมีมาตรการช่วยเหลือทั้งระบบ เช่น การเพิ่มรายได้ ลดค่าครองชีพ ปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าการก่อหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ (1) การก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคและใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ (2) การก่อหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สิน ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถ กลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ เพราะเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน จึงก่อหนี้จากบัตรเครดิตแทนถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงกว่าก็ตาม ซึ่งบัตรเครดิตไม่ได้ใช้แค่การอุปโภคบริโภค แต่เป็นการกดเงินสดออกมาเพื่อการลงทุนด้วยเช่นกัน สำหรับการลดภาระหนี้นั้น ประชาชนควรมีวินัยทางการเงิน สร้างรายได้เพิ่ม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การออมเงินก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ในปัจจุบันยังมีทางเลือกในการหารายได้เพิ่มโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำลง อย่างไรก็ตาม ประชาชนควรหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการขายและทางการเงินเพิ่มเติม สำหรับหนี้ที่มีอยู่ควรใช้วิธีเจรจากับธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และภาครัฐควรช่วยประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อาจารย์วณิชยา ศีลบุตร

อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์และการประเมินสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ