สวนดุสิตโพล: คนไทยกับ “หวย”

ข่าวผลสำรวจ Monday April 4, 2022 09:18 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับ “หวย”
คนไทยกับ ?หวย? อยู่คู่กันมาช้านาน หลายคนนิยมเสี่ยงโชคเพื่อความสนุกสนาน หลายคนก็หวังร่ำรวย ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่หรือรายได้ลดน้อยลงแต่คนไทยก็ยังนิยมซื้อหวยกันเหมือนเดิม เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล?มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,081 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนชอบเสี่ยงโชค ซื้อหวย หรือไม่
    ชอบ 61.78%            เฉยๆ 31.26%            ไม่ชอบ 6.96%
2. ประชาชนนิยมซื้อหวยประเภทใด
    หวยบนดิน (สลากกินแบ่งรัฐบาล) 54.05%      หวยใต้ดิน 31.44%        หวยออนไลน์ 11.61%       หวยอื่นๆ 2.90%
3. ประชาชนซื้อหวยบ่อยครั้งเพียงใด
    ซื้อทุกงวด 28.49%         ซื้อนานๆครั้ง 26.46%          ซื้อเกือบทุกงวด 23.87%          ซื้อเป็นบางงวด 21.18%
4. เหตุผลที่ประชาชนซื้อหวย
อันดับ 1          หวังถูกรางวัล หวังรวย                   54.60%
อันดับ 2          ชอบเสี่ยงโชค                 48.65%
อันดับ 3          ฝันเห็นเลขเลยซื้อ          32.59%

5. ปัญหาที่พบจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล
อันดับ 1          ขายเกินราคา               87.38%
อันดับ 2          ไม่มีเลขที่ต้องการ                 49.91%
อันดับ 3          โดนบังคับให้ซื้อเลขชุด                 37.38%

6. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาล
อันดับ 1          แก้ปัญหายี่ปั๊ว ซาปั๊ว               64.00%
อันดับ 2          เพิ่มบทลงโทษให้หนัก กรณีขายเกินราคา              60.09%
อันดับ 3          ลงพื้นที่ตรวจสอบการขายสลากเกินราคา              54.51%

7. ประชาชนคิดอย่างไร กรณี จะมีการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล 80 บาท ผ่านแอปเป๋าตัง ที่จะเริ่มในเดือนพฤษภาคม นี้
     เห็นด้วย 64.07%               ไม่เห็นด้วย 18.94%         ไม่แน่ใจ 16.99%
8. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาหวยแพงได้สำเร็จหรือไม่
     ไม่น่าจะสำเร็จ  66.08%       ไม่แน่ใจ 21.04%             น่าจะสำเร็จ 12.88%




*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)







สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับ ?หวย?

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,081 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2565 พบว่า ประชาชนชอบเสี่ยงโชค ซื้อหวย ร้อยละ 61.78 นิยมซื้อหวยบนดิน (สลากกินแบ่งรัฐบาล) มากที่สุด ร้อยละ 54.05 รองลงมาคือ หวยใต้ดิน ร้อยละ 31.44 โดยซื้อทุกงวด ร้อยละ 28.49 ซื้อนาน ๆ ครั้ง ร้อยละ 26.46 สาเหตุที่ซื้อ คือ หวังถูกรางวัล หวังรวย ร้อยละ 54.60 ปัญหาที่พบจากการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ ผู้ขายขายเกินราคา ร้อยละ 87.38 สิ่งที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการคือ แก้ปัญหายี่ปั๊ว ซาปั๊ว ร้อยละ 64.00 รองลงมาคือ เพิ่มบทลงโทษให้หนักกรณีขายเกินราคา ร้อยละ 60.09 ประชาชนร้อยละ 64.07 เห็นด้วยหากมีการขายสลาก 80 บาท ผ่านแอปเป๋าตัง ในภาพรวมคิดว่ารัฐบาลไม่น่าจะแก้ปัญหาหวยแพงได้สำเร็จ ร้อยละ 66.08 ปัญหา ?หวยแพง? มีมาช้านานและยังไม่มีรัฐบาลใดแก้ได้ ประชาชนจึงมองว่ารัฐบาลปัจจุบันก็ไม่น่าจะแก้ปัญหา หวยแพงได้สำเร็จเช่นกัน จะเห็นได้จากผลโพลที่ประชาชนสะท้อนว่า ?มีการขายสลากเกินราคา? จากความหวังที่อยากจะรวยข้ามคืนในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด) กลับต้องเจอปัญหาหวยแพงซ้ำเติม จึงอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาอย่างจริงจังมิใช่เพียงการไล่จับกุมปิดเว็บไซต์ขายหวยออนไลน์เพียงอย่างเดียว นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

          จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลจะพบว่าคนไทยมีความต้องการในการเสี่ยงโชคค่อนข้างสูงถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ค่อยดีก็ตาม แต่ยังอยากมีรายได้ที่ได้มาโดยง่าย จำนวนมาก และรวดเร็ว ทำให้หวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลจึงเป็น                 ที่นิยมของนักเสี่ยงโชค ซึ่งเราจะพบปัญหาของการขายหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลที่เกินราคาอยู่บ่อยครั้งและไม่สามารถ                      ที่จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างถาวร เนื่องจากระบบในการจัดการการขายต่อเป็นทอดหรือยี่ปั๊ว ซาปั๊ว มีการทำกำไรจากส่วนต่างของต้นทุน ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีบทลงโทษในการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาแล้วก็ตาม แต่การเสี่ยงที่จะขายก็ยังคงสร้างรายได้ให้กับคนขายลอตเตอรี่ได้ดีกว่าการไม่ได้ขาย การที่รัฐบาลจะเปลี่ยนรูปแบบการขายเป็นระบบออนไลน์อาจช่วยลดปัญหาของการขายเกินราคาได้แต่จะส่งผลกระทบต่ออาชีพคนขายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ทำเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีวิต จึงคิดว่าการแก้ปัญหานี้อาจไม่ประสบความสำเร็จในระยะยาว






ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ