สวนดุสิตโพล: คนไทยกับ“โลกดิจิทัล”

ข่าวผลสำรวจ Monday May 30, 2022 08:27 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับ“โลกดิจิทัล”

/

คนไทย ณ วันนี้ ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัวอันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้ามาเร่งให้เกิดการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น คนไทยจึงต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายด้าน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,051 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤษภาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. โดยปกติแล้ว ประชาชนใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเรื่องใดบ้าง
อันดับ 1          ติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดีย               79.96%
อันดับ 2          ชำระเงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย                 78.44%
อันดับ 3          ความบันเทิงออนไลน์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม              75.19%

2. ก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ประชาชนใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
    ใช้มากขึ้น 76.97%        ใช้เท่าเดิม 20.94%         ใช้ลดลง 2.09%

3. ประชาชนคิดว่า ?โลกดิจิทัล? ทำให้ลำบากหรือวุ่นวายมากขึ้นหรือไม่
   ไม่สร้างความลำบากและวุ่นวาย 53.28%        ลำบากและวุ่นวายอยู่บ้าง 38.90%         ลำบากและวุ่นวายมากขึ้น 7.82%

4. ในโลกออนไลน์ ประชาชนเคยพบปัญหาใดบ้าง
อันดับ 1          การส่งต่อเฟคนิวส์ คลิปหรือข้อมูลความเชื่อผิด ๆ           82.40%
อันดับ 2          มิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน          63.84%
อันดับ 3          การแฮกข้อมูล แอบอ้างชื่อ สร้างบัญชีปลอม              62.04%

5. ประชาชนมีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัลอย่างไรบ้าง
อันดับ 1          มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ           71.81%
อันดับ 2          ยอมรับและทำความเข้าใจว่าโลกเปลี่ยน           57.90%
อันดับ 3          กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะใช้งาน ลองผิด ลองถูก                 57.05%

6. ความคาดหวังหรืออยากเห็นโลกดิจิทัลกับคนไทยเป็นอย่างไร
อันดับ 1          ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ระบบไม่ล่ม ไม่ติดขัด          70.00%
อันดับ 2          คนไทยเข้าถึงโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง                  61.52%
อันดับ 3          ไม่มีค่าใช้จ่าย บริการฟรี              54.19%

7. ประชาชนพร้อมหรือยังกับการเป็นคนไทยในโลกดิจิทัล
    พร้อมแล้ว 89.30%                ยังไม่พร้อม 10.70%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)








สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับ?โลกดิจิทัล?
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,051 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 13-18 พฤษภาคม 2565 เรื่อง ?คนไทยกับโลกดิจิทัล? พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี   ในชีวิตประจำวันในการติดต่อสื่อสาร พูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ โซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 79.96 รองลงมาคือชำระเงินแบบดิจิทัล ฝาก ถอน โอน จ่าย ร้อยละ 78.44 เปรียบเทียบก่อนและเมื่อมีโควิด-19 ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้น ร้อยละ 76.97 โดยมองว่า ?โลกดิจิทัล? ไม่ได้สร้างความลำบากและวุ่นวาย ร้อยละ 53.28 ในโลกออนไลน์เคยพบปัญหาการส่งต่อเฟคนิวส์ คลิปหรือข้อมูลความเชื่อผิด ๆ มากที่สุด ร้อยละ 82.40 รองลงมาคือมิจฉาชีพออนไลน์ หลอกให้โอนเงิน ร้อยละ 63.84 วิธีการปรับตัวให้เข้ากับโลกดิจิทัล คือ ต้องมีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ร้อยละ 71.81 สิ่งที่คาดหวังโลกดิจิทัลสำหรับคนไทย คือ ใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ระบบไม่ล่ม ไม่ติดขัด ร้อยละ 70.00 รองลงมาคือ คนไทยเข้าถึงโลกดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ร้อยละ 61.52 ในภาพรวมประชาชนพร้อมแล้วกับการเป็นคนไทยในโลกดิจิทัล ร้อยละ 89.30
รัฐบาลต้องการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล คนไทยก็ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันมากขึ้นและพร้อมเข้าสู่โลกดิจิทัล   สูงถึงร้อยละ 89 แต่ปัญหาที่พบและพบอย่างต่อเนื่อง คือ เฟคนิวส์ และมิจฉาชีพออนไลน์ต่าง ๆ ดังนั้น ในการวางรากฐานด้านดิจิทัลนอกจากนโยบายและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การใช้กฎหมายเกี่ยวกับดิจิทัลอย่างเข้มงวดจึงเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ นอกจากนี้ต้องเน้นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เข้าถึงได้เท่าเทียมกัน และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างมีคุณภาพและเสมอภาค

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการอภิปรายกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการเป็น ?คนไทยในโลกดิจิทัล? มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านข้อมูล มุมมองผู้เสพ                       ต้องเสพอย่างมีสติ กลั่นกรอง เลือกใช้ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ มุมมองของการเป็นผู้สร้าง ต้องสร้างไมโครคอนเทนต์ ข้อมูลสั้น กระชับ เป็นปัจจุบันและตรงเป้าหมาย 2) ด้านเครื่องมือ เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้เกิดการพลิกโฉมการทำงาน การเรียนรู้ และการใช้ชีวิต 3) ด้านคน หลัง COVID-19 จะยิ่งมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แม้กระทั่งกลุ่มคนที่เคยปฏิเสธการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาคนจึงต้องจัดระดับตามช่วงวัยและพัฒนาการ ปฐมวัยควรใช้น้อยแต่เน้นเตรียมทักษะชีวิต มัธยมค้นหาและปรับพื้นฐานให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง อุดมศึกษาพัฒนาวิธีคิด พื้นฐานการออกแบบ                   ใช้ข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวข้องกับอาชีพ เน้นทักษะและทัศนคติ วัยทำงานเน้นการพัฒนาตนเองตามความสอดคล้องกับงานและความสนใจ รองรับแนวโน้มการทำงานแบบ 1 คน มากกว่า 1 งาน และวัยสูงอายุเน้นใช้ในการสื่อสารและการเข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐ
ดร.เอื้ออารี จันทร
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบการเรียนรู้
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ