สวนดุสิตโพล: คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง

ข่าวผลสำรวจ Monday August 15, 2022 09:33 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง

จากการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศ ส่งผลให้คนไทยเกิดความวิตกกังวล กลัวว่าอาจเกิดการแพร่ระบาดมีผู้ติดเชื้อมากขึ้น หลายฝ่ายจึงอยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิงอย่างเข้มงวด เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. จากข่าวโรคฝีดาษลิงที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ประชาชนมีความวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด
    ค่อนข้างวิตกกังวล 54.34%          ไม่ค่อยวิตกกังวล 27.21%        วิตกกังวลมาก 14.16%            ไม่วิตกกังวล 4.29%

2. ประชาชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงมากน้อยเพียงใด
    พอรู้และเข้าใจอยู่บ้าง 66.76%      ไม่ค่อยรู้และไม่ค่อยเข้าใจ 24.29%       รู้และเข้าใจเป็นอย่างดี 5.30%     ไม่รู้และไม่เข้าใจเลย 3.65%

3. แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด
อันดับ 1          กระทรวงสาธารณสุข                      37.17%
อันดับ 2          กรมการแพทย์                        16.44%
อันดับ 3          สื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม          14.25%
อันดับ 4          กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์          13.33%
อันดับ 5          สื่อสารมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์                     9.22%

4. ระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลโรคใดมากกว่ากัน
    กังวลทั้ง 2 โรค พอๆกัน 41.19%      กังวลโรคฝีดาษลิง มากกว่า 29.32%        กังวลโรคโควิด-19 มากกว่า 24.38%
ไม่กังวลทั้ง 2 โรค 5.11%


5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้หรือไม่
    น่าจะรับมือได้ 46.58%                 ไม่น่าจะรับมือได้ 29.22%             ไม่แน่ใจ 24.20%

6. ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องโรคฝีดาษลิงอย่างไร
อันดับ 1          ประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง                     81.55%
อันดับ 2          แนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน          60.82%
อันดับ 3          ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ไม่ปิดบัง                59.36%
อันดับ 4          มีกระบวนการคัดกรองและกักตัวกลุ่มเสี่ยงที่มาจากต่างประเทศอย่างเข้มงวด          58.45%
อันดับ 5          มีวัคซีนป้องกันโรค                 56.16%


*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)














สรุปผลการสำรวจ : คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง

           สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2565 พบว่า จากข่าวโรคฝีดาษลิงที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ประชาชนค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 54.34 โดยมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงอยู่บ้าง ร้อยละ 66.76 แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด คือ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 37.17 ระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลทั้ง 2 โรค พอ ๆ กัน ร้อยละ 41.19      ทั้งนี้มองว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้ ร้อยละ 46.58  อยากให้รัฐบาลประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง           ร้อยละ 81.55 รองลงมาคือแนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน ร้อยละ 60.82
แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากแต่ประชาชนก็ค่อนข้างวิตกกังวล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทเรียนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาจึงทำให้ประชาชนรู้สึกกังวลไม่แตกต่างกัน แต่ด้วยการรับมือของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ประชาชนจึงรู้สึกว่ารัฐบาลน่าจะรับมือกับโรคระบาดใหม่ได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐบาลจึงควรรายงานสถานการณ์ ให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533


ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างวิตกกังวลต่อโรคฝีดาษลิง เนื่องจากการแพร่กระจายเชื้อเกิดขึ้นในวงกว้างทั่วโลก แนวโน้มของการระบาดก็ยังไม่ชัดเจนและอาการแสดงคล้ายคลึงกันหลายโรค ซึ่งโรคฝีดาษลิงนอกจากส่งผลต่อการเจ็บป่วยทางกายยังส่งผลต่อสภาวะทางจิต เศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยอีกด้วย ความรู้สึกกังวลต่อภาพลักษณ์ที่เกิดตุ่มรอยโรคตามร่างกาย การถูกตีตราจากปัจจัยเสี่ยงด้านการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายรักชาย และต้องถูกแยกตัวเช่นเดียวกันกับโรค               โควิด-19 ทำให้ต้องหยุดงานซึ่งกระทบต่อรายได้ ในขณะเดียวกันรายจ่ายที่ต้องใช้ระหว่างรักษาก็เพิ่มขึ้น ผลกระทบนี้                   จะรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนต้องการจากรัฐบาล คือ การประกาศแจ้งเตือนข้อมูลที่ถูกต้องและเรียกร้องให้ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ควรป้องกันตนเองเช่นเดียวกันกับโรคโควิด-19 รวมทั้งติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ

อ.ดร.ปณวัตร สันประโคน
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลและชุมชน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

จากการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศ ส่งผลให้คนไทยเกิดความวิตกกังวล กลัวว่าอาจเกิดการแพร่ระบาดมีผู้ติดเชื้อมากขึ้น หลายฝ่ายจึงอยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิงอย่างเข้มงวด เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. จากข่าวโรคฝีดาษลิงที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ประชาชนมีความวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด
    ค่อนข้างวิตกกังวล 54.34%          ไม่ค่อยวิตกกังวล 27.21%        วิตกกังวลมาก 14.16%            ไม่วิตกกังวล 4.29%

2. ประชาชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงมากน้อยเพียงใด
    พอรู้และเข้าใจอยู่บ้าง 66.76%      ไม่ค่อยรู้และไม่ค่อยเข้าใจ 24.29%       รู้และเข้าใจเป็นอย่างดี 5.30%     ไม่รู้และไม่เข้าใจเลย 3.65%

3. แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด
อันดับ 1          กระทรวงสาธารณสุข                      37.17%
อันดับ 2          กรมการแพทย์                        16.44%
อันดับ 3          สื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม          14.25%
อันดับ 4          กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์          13.33%
อันดับ 5          สื่อสารมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์                     9.22%

4. ระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลโรคใดมากกว่ากัน
    กังวลทั้ง 2 โรค พอๆกัน 41.19%      กังวลโรคฝีดาษลิง มากกว่า 29.32%        กังวลโรคโควิด-19 มากกว่า 24.38%
ไม่กังวลทั้ง 2 โรค 5.11%


5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้หรือไม่
    น่าจะรับมือได้ 46.58%                 ไม่น่าจะรับมือได้ 29.22%             ไม่แน่ใจ 24.20%

6. ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องโรคฝีดาษลิงอย่างไร
อันดับ 1          ประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง                     81.55%
อันดับ 2          แนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน          60.82%
อันดับ 3          ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ไม่ปิดบัง                59.36%
อันดับ 4          มีกระบวนการคัดกรองและกักตัวกลุ่มเสี่ยงที่มาจากต่างประเทศอย่างเข้มงวด          58.45%
อันดับ 5          มีวัคซีนป้องกันโรค                 56.16%


*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)














สรุปผลการสำรวจ : คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง

           สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2565 พบว่า จากข่าวโรคฝีดาษลิงที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ประชาชนค่อนข้างวิตกกังวล ร้อยละ 54.34 โดยมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงอยู่บ้าง ร้อยละ 66.76 แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด คือ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 37.17 ระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลทั้ง 2 โรค พอ ๆ กัน ร้อยละ 41.19      ทั้งนี้มองว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้ ร้อยละ 46.58  อยากให้รัฐบาลประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง           ร้อยละ 81.55 รองลงมาคือแนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน ร้อยละ 60.82
แม้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทยยังมีจำนวนไม่มากแต่ประชาชนก็ค่อนข้างวิตกกังวล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทเรียนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาจึงทำให้ประชาชนรู้สึกกังวลไม่แตกต่างกัน แต่ด้วยการรับมือของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี ประชาชนจึงรู้สึกว่ารัฐบาลน่าจะรับมือกับโรคระบาดใหม่ได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐบาลจึงควรรายงานสถานการณ์ ให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533


ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างวิตกกังวลต่อโรคฝีดาษลิง เนื่องจากการแพร่กระจายเชื้อเกิดขึ้นในวงกว้างทั่วโลก แนวโน้มของการระบาดก็ยังไม่ชัดเจนและอาการแสดงคล้ายคลึงกันหลายโรค ซึ่งโรคฝีดาษลิงนอกจากส่งผลต่อการเจ็บป่วยทางกายยังส่งผลต่อสภาวะทางจิต เศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยอีกด้วย ความรู้สึกกังวลต่อภาพลักษณ์ที่เกิดตุ่มรอยโรคตามร่างกาย การถูกตีตราจากปัจจัยเสี่ยงด้านการมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายรักชาย และต้องถูกแยกตัวเช่นเดียวกันกับโรค               โควิด-19 ทำให้ต้องหยุดงานซึ่งกระทบต่อรายได้ ในขณะเดียวกันรายจ่ายที่ต้องใช้ระหว่างรักษาก็เพิ่มขึ้น ผลกระทบนี้                   จะรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนต้องการจากรัฐบาล คือ การประกาศแจ้งเตือนข้อมูลที่ถูกต้องและเรียกร้องให้ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ควรป้องกันตนเองเช่นเดียวกันกับโรคโควิด-19 รวมทั้งติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ

อ.ดร.ปณวัตร สันประโคน
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลและชุมชน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ