สวนดุสิตโพล: “นักการเมืองไทย” ไปทางไหนดี

ข่าวผลสำรวจ Monday December 19, 2022 08:26 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: “นักการเมืองไทย” ไปทางไหนดี
ข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงนี้ค่อนข้างร้อนแรงและเป็นที่จับตามองอย่างมาก โดยเฉพาะกรณี ส.ส.ลาออก ย้ายพรรค อย่างต่อเนื่อง ทำให้ถูกมองว่านักการเมืองนั้นทำเพื่ออุดมการณ์หรือเพื่อผลประโยชน์ เพราะนักการเมืองคือผู้ที่ประชาชนฝากความหวังและเป็นตัวแทนเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,157 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้ กับ 5 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
   เหมือนเดิม 47.02%            แย่ลง 44.68%          ดีขึ้น 8.30%

2. ประชาชนอยากได้ ?นักการเมือง? แบบใด
อันดับ 1          มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว            79.22%
อันดับ 2          เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่อำนาจและผลประโยชน์              77.83%
อันดับ 3          เป็นนักบริหารมืออาชีพ มีประสบการณ์  มีความรู้ความสามารถ                 76.70%

3. พฤติกรรมนักการเมืองแบบใดที่เบื่อหน่ายหรืออยากให้หมดไป
อันดับ 1          พูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี                       87.50%
อันดับ 2          ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ไม่ถูกต้อง เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง                83.68%
อันดับ 3          ไม่โปร่งใส ทุจริต คอร์รัปชั่น             78.99%

4. ประชาชนคิดว่านักการเมืองทุกคนควรสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่
    ควรสังกัดพรรคการเมือง  40.71%       จะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ 39.07%       ไม่ควร 20.22%

5. ประชาชนอยากได้ ?พรรคการเมือง? แบบใด
อันดับ 1          เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส  ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย                            91.57%
อันดับ 2          มีความสามัคคี ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน มีอุดมการณ์ มีจุดยืนที่ชัดเจน                   84.10%
อันดับ 3          มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถ มาจากหลากหลายอาชีพ สร้างนักการเมืองที่มีคุณภาพ           82.71%

6. ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข
อันดับ 1          ทุจริต คอร์รัปชั่น              76.78%
อันดับ 2          ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ          68.17%
อันดับ 3          ปัญหาปากท้อง ของแพง ความเป็นอยู่ของประชาชน           67.22%

7. ทำอย่างไร ประเทศไทยจึงจะเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา
อันดับ 1          มีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง          76.65%
อันดับ 2          เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ได้แสดงออกทางความคิดเห็น               69.97%
อันดับ 3          ประชาชนต้องตระหนักรู้ ให้ความสำคัญ เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง               68.49%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)



/

สรุปผลการสำรวจ : ?นักการเมืองไทย? ไปทางไหนดี
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,157 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2565 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่านักการเมืองไทย ณ วันนี้                           เมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมาก็ยังเหมือนเดิม ร้อยละ 47.02 และแย่ลง ร้อยละ 44.68 โดยนักการเมืองที่ประชาชน    อยากได้ คือ มีความรับผิดชอบ มีผลงาน ทำงานเร็ว แก้ปัญหาเร็ว  ร้อยละ 79.22 พฤติกรรมนักการเมืองแบบที่เบื่อหน่ายหรืออยากให้หมดไป คือ การพูดแต่ทำไม่ได้ ไม่รักษาสัญญา พูดให้ร้าย ใส่ร้ายป้ายสี  ร้อยละ 87.50 ทั้งนี้คิดว่านักการเมือง                  ทุกคนควรสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ  40.71 และจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ ร้อยละ  39.07  ส่วน ?พรรคการเมือง? ที่ประชาชนต้องการ คือ เป็นพรรคการเมืองที่โปร่งใส  ดำเนินกิจการของพรรคอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ร้อยละ 91.57  ปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้นักการเมืองช่วยแก้ไข คือ ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น  ร้อยละ 76.78 รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 68.17 สุดท้ายแนวทางที่คิดว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องมีการเลือกตั้งที่โปร่งใส ยุติธรรม มาจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 76.65
จากผลการสำรวจเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มเจนเนเรชั่น พบว่า กลุ่มคนเจน Z หรือ New Voter ในการเลือกตั้งครั้งหน้ามองว่านักการเมืองที่ต้องการต้องเป็นนักบริหาร มีประสบการณ์ และเบื่อหน่ายนักการเมืองที่ ?ดีแต่พูด? ทั้งนี้นักการเมืองจะสังกัดพรรคหรือไม่ก็ได้ ส่วนกลุ่มบูมเมอร์มองว่านักการเมืองต้องเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และควรต้องสังกัดพรรคการเมือง ถึงแม้ทั้งสองเจนจะมีมุมมองต่อนักการเมืองที่ต่างกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าต่างก็ต้องการนักเมืองที่มีคุณภาพและเน้นการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกัน ไม่ใช่นักการเมืองที่เล่นการเมืองไปวัน ๆ
นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533

ผลจากการเสวนากลุ่มเรื่อง ?นักการเมืองไทยไปทางไหนดี กับ 91 ปีของประเทศที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย? พบว่า การเมืองไทยยังยึดติดอยู่กับผลประโยชน์ที่มีผลต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน นักการเมืองยังมีบทบาทในภาพลักษณ์                  ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทของสังคม เช่น สังคมเมืองประชาชนคาดหวังการทำหน้าที่ในสภาเพื่อสนองตอบตามนโยบายพรรคที่ได้หาเสียงไว้ ในสังคมที่ห่างจากสังคมเมือง ประชาชนต้องการให้นักการเมืองเข้ามาดูแลทุกข์สุขทุกเรื่อง
สำหรับประเทศไทยอาจกล่าวไม่ได้ว่าเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบนัก และก็ไม่เคยมีประเทศใดกล่าวอ้างเรียกว่าตนเองเป็นประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยหาใช่เพียงนิยาม แต่ต้องทำให้เป็นจึงจะเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประชาธิปไตยของประเทศไทยยังคงให้สิทธิประชาชนได้เลือกตั้ง แต่ประชาชนจะได้ในสิ่งที่ตอบสนองกับความต้องการของตนเองหรือไม่ ก็ไม่เป็นที่แน่ใจได้ และหากประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ใช่ ก็คงไม่ต้องมาสงสัยว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่เป็น
ดร.พัชราพรรณ นาคพงษ์
อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ