สวนดุสิตโพล: คนไทยกับความหลากหลายทางเพศ

ข่าวผลสำรวจ Monday June 19, 2023 08:27 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับความหลากหลายทางเพศ

?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี ?คนไทยกับความหลากหลายทางเพศ? จำนวนทั้งสิ้น 1,017 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนทราบหรือไม่ว่า ?ตลอดเดือนมิถุนายนเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลอง Pride Month เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่ม
หลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)?
อันดับ 1          รู้          54.28%
อันดับ 2          ไม่รู้              45.72%

2. ประชาชนคิดอย่างไรกับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยปัจจุบัน

อันดับ 1          สังคมไทยเปิดกว้าง ยอมรับในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น          54.92%
อันดับ 2          เป็นสิทธิของแต่ละคน ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน          32.51%
อันดับ 3          บางส่วนยังไม่ยอมรับ มีมุมมองความคิดแบบเดิม ๆ อยู่          21.45%
อันดับ 4          ควรมีกฎหมายรับรองสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ          16.94%
อันดับ 5          อยากให้ระมัดระวังการแสดงออก บางครั้งไม่ค่อยเหมาะสม เกินขอบเขต           11.75%

3. ตัวประชาชนเองให้การยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากน้อยเพียงใด

อันดับ 1          ยอมรับ          84.56%
อันดับ 2          ไม่ยอมรับ          15.44%

4. ประชาชนคิดว่าสังคมไทยตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับ ?กลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)? มากน้อยเพียงใด

อันดับ 1          มาก          49.95%
อันดับ 2          ปานกลาง          33.92%
อันดับ 3          น้อย          16.13%

5. ในครอบครัว เพื่อน หรือที่ทำงาน ประชาชนเคยพบเห็นปัญหาการเหยียด ทำร้าย (ร่างกายและจิตใจ) เปรียบเทียบ ต่อว่า ฯลฯ

ต่อบุคคลกลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) หรือไม่

อันดับ 1          ไม่เคยพบเห็น          53.00%
อันดับ 2          เคยพบเห็น          47.00%

6. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ว่าสังคมไทยปัจจุบันควรมีกฎหมายรับรอง ?กลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)?

อันดับ 1          เห็นด้วย           75.41%
อันดับ 2          ไม่เห็นด้วย          12.59%
อันดับ 3          ไม่แน่ใจ          12.00%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)


/


สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับความหลากหลายทางเพศ

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี ?คนไทยกับความหลากหลายทางเพศ? จำนวนทั้งสิ้น 1,017 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2566 พบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างรู้ว่าเดือนมิถุนายนเป็นเดือน Pride Month ร้อยละ 54.28 และไม่รู้ ร้อยละ 45.72 โดยมองว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้าง ยอมรับในความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ร้อยละ 54.92 และให้การยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศ ร้อยละ 84.56 โดยมองว่าสังคมไทยตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับ ?กลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)? ในระดับมาก ร้อยละ 49.95 ทั้งนี้เคยพบเห็นปัญหาการเหยียด ทำร้ายร่างกายและจิตใจต่อบุคคลกลุ่มหลากหลายทางเพศ ร้อยละ 47.00 โดยร้อยละ 75.41 เห็นด้วยว่าสังคมไทยปัจจุบันควรมีกฎหมายรับรองกลุ่มหลากหลายทางเพศ

          จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าในภาพรวมสังคมไทยเปิดกว้างยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ถึงแม้จะยังพบเห็นการอคติทางเพศในครอบครัว เพื่อน หรือที่ทำงาน แต่ส่วนใหญ่ก็ยังมองว่าเรื่อง ?เพศ? เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล และมนุษย์ทุกคนควรมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมิถุนายนเป็นเดือน Pride Month ทำให้เห็นการออกมาแสดงออกและร่วมยินดีมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเพียงกระแสหรือไม่นั้นก็ต้องติดตามจากการผลักดันกฎหมาย                            ที่เกี่ยวข้องต่อไป

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533


?เพราะเขาอาจจะเป็นลูก เป็นเพื่อน เป็นพี่น้อง หรือเป็นญาติของเรา? ปัจจุบันคนไทยจึงเปิดใจกว้างกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นทั้งจากครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน และในสังคม อยู่ร่วมกันขับเคลื่อนสังคมไปด้วยกัน                      ในหลากหลายวงการ เช่น วงการบันเทิง การศึกษา การเมือง ฯลฯ อดีตที่อาจถูกมองว่าอย่าเข้าใกล้ กีดกัน อย่าให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เกิดการเลียนแบบ แต่ในปัจจุบัน LGBTQ+ สร้างงานสร้างรายได้จากตัวตนที่เป็น จากพรสวรรค์ที่มี จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดการยอมรับมากขึ้น จะว่าไป LGBTQ+ ก็ = Soft Power ในส่วนของคนที่ใจยังปิด หรือปากว่าตาขยิบ ก็อยากให้ ?เปิดใจ? ทั้งนี้ยังคงเฝ้ารอสังคมไทยในมุมที่มีกฎหมายรองรับความหลากหลายทางเพศ เพราะ ?คนเราเท่ากัน = เท่าเทียม?

ธีรพจน์ จินดาเดช
ตัวแทนกลุ่มหลากหลายทางเพศ
กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ