?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี ?พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้? จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2566 สรุปผลได้ ดังนี้
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี ?พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้? จำนวนทั้งสิ้น 1,026 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2566 พบว่า ประชาชนคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมประชาธิปไตยระดับมาก ร้อยละ 50.78 โดยมองว่าประเทศไทย ณ วันนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยระดับปานกลาง ร้อยละ 48.54 ทั้งนี้เห็นว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยแสดงออกได้โดยการเคารพในสิทธิ หน้าที่ และความเห็นของผู้อื่น ร้อยละ 92.69 ความสำคัญของพฤติกรรมประชาธิปไตยทำให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็น มุมมอง และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ร้อยละ 75.29 อุปสรรคของการมีพฤติกรรมประชาธิปไตย คือ การถูกแทรกแซง ควบคุมอำนาจ ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ร้อยละ 70.57 ส่วนการส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบการทำงานของนักการเมือง ร้อยละ 72.27
จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความตระหนักรู้ในพฤติกรรมประชาธิปไตยมากขึ้น เห็นความสำคัญของส่วนรวมโดยมองว่าพฤติกรรมประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงแค่การออกไปเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเคารพในสิทธิ หน้าที่ และความเห็นของผู้อื่นด้วย ทั้งนี้แม้ประชาชนจะเห็นความสำคัญของประชาธิปไตยมากเพียงใด แต่หากถูกควบคุม ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ก็ยังไม่สามารถไปถึงจุดที่เรียกว่า ?มีความเป็นประชาธิปไตย? ได้อยู่ดี นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533
สวนดุสิตโพล ร่วมกับ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดกิจกรรมเสวนากลุ่ม เรื่อง ?พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้? เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 ผลจากการเสวนา พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวในเรื่องพฤติกรรมประชาธิปไตยมากขึ้น เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ รวมทั้งการจัดให้มีเวทีดีเบตของสื่อมวลชนหลายสำนัก แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยและอุปสรรคในด้านกฎหมาย จึงควรเพิ่มการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาธิปไตย เปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการและการแสดงออก
โดยผลจากวงเสวนาสอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพลที่เห็นว่าควรส่งเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตยโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของผู้แทน ดังนั้น ?พฤติกรรมประชาธิปไตยของคนไทย ณ วันนี้? จึงแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการตัดสินใจของประชาชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรศักดิ์ มั่นศิลป์ รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต