สวนดุสิตโพล: ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี

ข่าวผลสำรวจ Monday July 24, 2023 08:27 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี
?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี? จำนวน 1,809 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566                    สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไรกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกนายกรัฐมนตรี
อันดับ 1          ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม            71.73%
อันดับ 2          ทำให้เบื่อการเมือง การเมืองล้าหลัง ไม่พัฒนา                        67.90%
อันดับ 3          กระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ปากท้อง ความเป็นอยู่ของประชาชน          62.23%





2. ประชาชนคิดว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งนี้คืออะไร
อันดับ 1          การมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขต แย่งชิงผลประโยชน์          74.21%
อันดับ 2          การปฏิบัติหน้าที่ของ สว.                63.76%
อันดับ 3          การไม่ยอมรับเสียงของประชาชน ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้          62.42%





3. แนวทางการยุติความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี
อันดับ 1          เคารพเสียงจากการเลือกตั้ง                77.39%
อันดับ 2          แสวงหาแนวทางร่วมกันอย่างสันติ ร่วมมือและไว้วางใจกัน          57.97%
อันดับ 3          ทุกฝ่ายถอยคนละก้าว คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก          47.10%






4. บทเรียนจากความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งนี้คืออะไรบ้าง
อันดับ 1          ทุกคนมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันได้ แต่ควรเคารพซึ่งกันและกัน          64.13%
อันดับ 2          ความแตกต่างระหว่างวัยส่งผลต่อความคิดทัศนคติทางการเมือง          59.17%
อันดับ 3          ประชาธิปไตยไทยยังคงมีปัญหา แก้ไขได้ยาก          55.16%







5. ประชาชนคิดว่ากรณีการเลือกนายกรัฐมนตรีจะทำให้การเมืองไทยเป็นอย่างไร
อันดับ 1          แย่ลง          40.63%
อันดับ 2          เหมือนเดิม          33.72%
อันดับ 3          ดีขึ้น          25.65%






*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)






สรุปผลการสำรวจ : ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี

          สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,809 คน สำรวจระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 พบว่า ประชาชนมองว่ากรณี ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม ร้อยละ 71.73 โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งนี้คือการมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขต แย่งชิงผลประโยชน์ ร้อยละ 74.21 แนวทางการยุติความขัดแย้ง คือ             ควรเคารพเสียงจากการเลือกตั้ง  ร้อยละ 77.39 บทเรียนจากความขัดแย้งครั้งนี้คือ ทุกคนมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันได้ แต่ควรเคารพซึ่งกันและกัน ร้อยละ 64.13 ทั้งนี้เห็นว่าการเมืองไทยหลังจากนี้ก็คงจะแย่ลง ร้อยละ 40.63
          จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายกับปัญหาทางการเมือง ระบบของกฎหมายที่นำมา                  ซึ่งปัญหาในการเลือกนายกรัฐมนตรี แม้จะเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว แต่กลับยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เนื่องจากการมุ่งแต่อำนาจและผลประโยชน์ การปฏิบัติหน้าที่ของ สว. และการไม่ยอมรับเสียงของประชาชน จึงอยากให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าวบนฐานคิดคือประโยชน์ของประชาชนมากกว่าของตนเอง

นางสาวพรพรรณ บัวทอง
นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
โทร 086-3766533


          การเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ภายใต้กติกาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบต่อผู้ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีและกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อรวมสมาชิกสองสภาในการลงคะแนนรับรองผู้ที่ถูกเสนอชื่อแล้ว จะต้องได้เสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา จากประเด็นดังกล่าว ผลโพล                        จึงชี้ให้เห็นว่าทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคมถึง 71.73%  อย่างไรก็ตามประชาชนยังคงมีความหวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพียงแต่ทุกฝ่ายเคารพเสียงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ยอมถอยคนละก้าวร่วมกันหาแนวทางอย่างสันติ นอกจากนี้ผลโพลยังสะท้อนว่าประชาชนได้เรียนรู้และยอมรับว่า ทุกคนมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันได้ เพราะเราทุกคนมีประสบการณ์ชีวิตในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน  แม้จะรู้สึกว่าประชาธิปไตยของไทย               ยังคงมีปัญหา แต่สังคมไทยยังอยู่ด้วยความหวัง กลุ่มตัวอย่างจึงมองว่าการเมืองไทยจะดีขึ้นแม้มีเพียง 25.65% แต่นี่คือเชื้อไฟที่ไม่เคยดับมอด เป็นแสงสว่างที่คนในชาติต้องช่วยกันรับไม้และส่งต่อแสงสว่างให้ลุกโชนยิ่งขึ้นสืบไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชลี รัตนะ
อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ