สวนดุสิตโพล: คนไทยกับฝุ่น PM 2.5

ข่าวผลสำรวจ Monday December 18, 2023 08:16 —สวนดุสิตโพล

สวนดุสิตโพล: คนไทยกับฝุ่น PM 2.5

?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง ?คนไทยกับฝุ่น PM 2.5? จำนวน 1,123 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2566 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนมีความวิตกกังวลมากน้อยเพียงใดต่อ ?ปัญหาฝุ่น PM 2.5? ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเกินมาตรฐาน
อันดับ 1          ค่อนข้างวิตกกังวล                         48.89%
อันดับ 2          วิตกกังวลอย่างมาก                    41.58%
อันดับ 3          ไม่ค่อยวิตกกังวล                           8.19%
อันดับ 4          ไม่วิตกกังวล          1.34%





2. ประชาชนคิดว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น เกิดจากสาเหตุใด
อันดับ 1          การเผาไร่นา เผาป่า ไฟป่า           79.04%
อันดับ 2          โรงงานอุตสาหกรรม          70.65%
อันดับ 3          การก่อสร้าง          68.42%





3. ประชาชนมีวิธีการรับมือปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างไร
อันดับ 1          ติดตามข่าวสารเรื่องฝุ่น PM 2.5 และแนวทางปฏิบัติจากภาครัฐ                   78.72%
อันดับ 2          สวมหน้ากากอนามัย N95 หรือหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้          76.14%
อันดับ 3          ลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง          62.42%




4. ประชาชนคิดว่าเหตุใดปัญหาฝุ่น PM 2.5 จึงแก้ไขยาก
อันดับ 1          การเผาไร่นา เผาป่า เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี                   82.87%
อันดับ 2          ต้นตอของมลพิษมีความหลากหลาย ทั้งจากมนุษย์และสภาพแวดล้อม          69.22%
อันดับ 3          การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ต่างๆ เกิดขึ้นต่อเนื่อง             66.28%





5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลควรแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างไร
อันดับ 1          มีมาตรการควบคุมและบทลงโทษที่เด็ดขาด          85.89%
อันดับ 2          มีระบบการแจ้งเตือน ตรวจวัด และรายงานผลที่มีประสิทธิภาพ          80.45%
อันดับ 3          ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ลดการปล่อยมลพิษ                69.55%





6. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะแก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ได้หรือไม่
อันดับ 1          คงจะแก้ไขไม่ได้            74.53%
อันดับ 2          แก้ไขได้แน่นอน                       25.47%




*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)








สรุปผลการสำรวจ : คนไทยกับฝุ่น PM 2.5
          สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง?คนไทยกับฝุ่น PM 2.5?                        กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,123 คน  สำรวจระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างค่อนข้างวิตกกังวลกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 48.89 โดยมองว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นเพราะการเผาไร่นา เผาป่า                ไฟป่า ร้อยละ 79.04 ประชาชนมีวิธีรับมือด้วยการติดตามข่าวสารและแนวทางปฏิบัติจากภาครัฐ ร้อยละ 78.72 และ                  เห็นว่าสาเหตุที่ทำให้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ไขได้ยาก คือ การเผาไร่นา เผาป่า นั้นเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ร้อยละ 82.87                  ด้านรัฐบาลควรมีมาตรการควบคุมและบทลงโทษที่เด็ดขาด ร้อยละ 85.89 สุดท้ายมองว่ารัฐบาลคงจะแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้ ร้อยละ 74.53

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนวิตกกังวลมากขึ้นว่าอาจกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ด้านรัฐบาลก็ออกมาแนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งและเร่งผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาด ซึ่งประชาชนเองก็พร้อมปฏิบัติตามข้อแนะนำจากทางภาครัฐ แต่ด้วยปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายปีแต่วิธีแก้ปัญหายังเน้นการตั้งรับจึงทำให้ประชาชนยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาล (ใหม่) จะแก้ปัญหานี้ได้ นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

ฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบสะสมต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยในระยะยาว ซึ่งจากการ                   เฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคพบว่าสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยจะมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากมีสภาพความกดอากาศต่ำหรือสภาพอากาศปิด ทำให้ฝุ่นละอองเกิดการสะสม                    ในบรรยากาศจากอัตราการระบายอากาศไม่ดี รวมทั้งยังคงมีแหล่งมลพิษทางอากาศซึ่งยังไม่สามารถควบคุมให้ลดลงได้ และเมื่อพิจารณาสถานการณ์ดังกล่าวร่วมกับผลสำรวจ ?คนไทยกับฝุ่น PM 2.5? จะพบว่าเมื่อคนไทยหนีฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้จึงต้องเรียนรู้อยู่กับฝุ่นให้สุขภาพไม่พัง ด้วยการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงการรับฝุ่นเข้าสู่ร่างกายเมื่อมีการแจ้งเตือนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง รวมทั้งมีการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังฝุ่น PM 2.5 ในวันที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น และสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ร่วมกันทุกภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การจัดการอย่างยั่งยืนลดปัญหาโลกรวนที่ทำให้ความรุนแรงของมลพิษทางอากาศมากขึ้นได้
ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต



ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ