ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงมาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เสนอให้ลดการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันและกองทุนอนุรักษ์พลังงานในส่วนของดีเซลลิตรละ 2 บาท พร้อมให้ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) และก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) รวมถึงค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อ ลดภาระให้แก่ประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ “รายการก่อนตัดสินใจ” ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน ทุกสาขาอาชีพในเขตกรุงเทพฯปริมณฑลที่มีต่อมาตรการดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 1,143 คน ระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
เพราะ เงินที่ส่งเข้ากองทุนนำออกมาใช้ประโยชน์ได้จริงมากน้อยเพียงใด , เป็นเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
อาจมีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม ฯลฯ
อันดับ 2 เหมาะสม 34.96%เพราะ เป็นการช่วยเหลือประชาชนได้ทางหนึ่ง ,ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้มากขึ้น ,เป็นช่วงที่เศรษฐกิจ
ของประเทศกำลังย่ำแย่ ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เหมาะสม 26.02%เพราะ ควรลดราคาน้ำมันทุกประเภท ,ผู้ที่ใช้น้ำมันประเภทนี้มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด ฯลฯ
เพราะ ช่วยให้ต้นทุนของราคาน้ำมันถูกลงกว่าเดิม ,ผู้บริโภคมีกำลังในการใช้จ่ายอย่างสะดวกมากขึ้น ,
ส่งผลให้ราคาสินค้า /บริการถูกลง ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 28.22%เพราะ อาจเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นหรือไม่สามารถทำได้จริงเนื่องจากมีปัจจัยอื่นแทรกแซง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่สมควร 12.10%เพราะ ทำให้ผู้บริโภคใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือย ไม่รู้จักการประหยัด ,ทำให้รัฐขาดรายได้ที่จะนำไปพัฒนาประเทศ ฯลฯ
เพราะ เป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน ,สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น , อีก 1 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจอาจเริ่มฟื้นตัวซึ่งส่งผลให้ประชาชนมีกำลังในการใช้จ่ายมากขึ้น ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 24.35%เพราะ หลังจาก 1 ปี ไปแล้วไม่ทราบว่าสถานการณ์ต่างๆจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและพลังงาน ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 17.39%เพราะ ระยะเวลา 1 ปี น้อยเกินไป การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต้องอาศัยระยะเวลาที่นานกว่านี้ ,
เป็นการช่วยเหลือแค่เพียงบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น ฯลฯ
--สวนดุสิตโพล--