หลังจากที่ทั่วโลกต้องประสบกับภัยพิบัติจากธรรมชาตินานัปการ รวมถึงประเทศไทยของเราที่ต้องประสบกับสภาวะทางธรรมชาติที่รุนแรง มากขึ้น ทั้งฝนตก พายุถล่ม น้ำท่วมสูง ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและการเตรียม พร้อมรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรวมถึงความจำเป็นยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนงาน สำรวจข้อมูล ประเมินความเสี่ยง เพื่อหาทางป้องกันและรับ มืออย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานสากล เพื่อช่วยลดความเสียหาย รวมถึงปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากเหตุภัยพิบัติที่จะ เกิดขึ้น “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ รายการ“ก่อนตัดสินใจ” จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อ ปัญหาภัยพิบัติ จำนวน 1,262 คน ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2552 สรุปผลได้ดังนี้
เตรียมความพร้อมสำหรับเกิดกรณีฉุกเฉิน
อันดับ 4 นับวันจะบ่อยขึ้นประชาชนต้องติดตามข่าวสารให้มากขึ้น 17.83% อันดับ 5 เป็นเรื่องของรัฐต้องช่วยเหลือและเตรียมพร้อมรับมือให้กับประชาชน 16.54% 2. ประชาชนคิดว่าภัยพิบัติชนิดใด? ร้ายแรงที่สุด อันดับ 1 แผ่นดินไหว 28.05% อันดับ 2 สึนามิ 26.83% อันดับ 3 น้ำท่วม 15.24% อันดับ 4 พายุประเภทต่างๆ 12.20% อันดับ 5 โคลน-ดินถล่ม 7.32%ฯลฯ
ฯลฯ 5. ประชาชนรับรู้ถึงวิธีการป้องกันและเอาตัวรอดจากภัยพิบัติชนิดต่างๆที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1 พอรู้บ้าง 46.99% อันดับ 2 รู้เป็นอย่างดี 28.92% อันดับ 3 ไม่ค่อยรู้ 19.88% อันดับ 4 ไม่รู้เลย 4.21% 6. ประชาชนคิดว่าประเทศไทยมีระบบการเตือนภัยจากภัยพิบัติอยู่ในระดับใด? อันดับ 1 พอใช้ 45.40% อันดับ 2 ต้องปรับปรุง 38.65% อันดับ 3 ดีมาก 15.95% 7. หน่วยงานใด? ในประเทศไทยที่ประชาชนคิดว่ามีหน้าที่เตือนภัยและป้องกันภัยพิบัติ อันดับ 1 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 30.73% อันดับ 2 กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 23.39% อันดับ 3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 23.17% อันดับ 4 มูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (adpc) 18.35% อันดับ 5 กระทรวงกลาโหม 4.36%--สวนดุสิตโพล--