สวนดุสิตโพลล์: การปะทะกันระหว่าง “ทหาร” กับ “กลุ่มเสื้อแดง”

ข่าวผลสำรวจ Monday April 12, 2010 07:23 —สวนดุสิตโพล

จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าฯ จนกลายเป็นเหตุจลาจล ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 800 คน และมีผู้เสียชีวิต 19 คน นับเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงและสร้างความเสียใจ สะเทือนใจให้กับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากคนกรุงเทพฯ ปริมณฑล ต่อ การปะทะกันระหว่าง“ทหาร” กับ “กลุ่มเสื้อแดง” จำนวน 1,084 คน ของวันที่ 11 เมษายน 2553 หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น 1 วัน สรุปผลได้ดังนี้

1.          ความคิดเห็นของประชาชน ต่อ เหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง “ทหาร” กับ “กลุ่มเสื้อแดง” จนมีผู้เสียชีวิต 19 คน และบาดเจ็บกว่า 800 คน
อันดับ 1          รู้สึกสลดใจ หดหู่ใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเจอเหตุการณ์แบบนี้ในประเทศไทย          60.29%
อันดับ 2          อยากให้ทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะรัฐบาลและแกนนำเสื้อแดงหยุดใช้ความรุนแรงตอบโต้กัน ควรคิดถึง
                ผลดี-ผลเสีย ที่ตามมาให้มาก                                                            12.88%
อันดับ 3          ไม่รู้ว่าสถานการณ์ต่างๆจะคลี่คลายหรือยุติลงอย่างไร                                           11.06%
อันดับ 4          จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่สร้างความบอบช้ำให้กับประเทศชาติและคนไทยทั้งประเทศ     8.09%
อันดับ 5          ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 10 เมษายน                           7.68%

2.          “วิธีแก้ไข” สถานการณ์เพื่อให้เกิดความสงบ ควรทำอย่างไร?
อันดับ 1          ควรถอยกันคนละก้าว /อยากให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีท่าทีที่อ่อนลง ไม่ใช้ความรุนแรง                          39.83%
อันดับ 2          อยากให้ทุกคนนึกถึงส่วนรวมให้มาก นึกถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น                                 27.16%
อันดับ 3          อยากให้มีการเจรจารอบ 3 เพื่อพูดคุยกันอีกครั้งระหว่างนายกฯ อภิสิทธิ์ กับแกนนำเสื้อแดง               26.08%
อันดับ 4          รัฐบาลควรออกมาชี้แจงหรือมีการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนเป็นระยะๆ                      6.93%

3.          “ฝ่ายรัฐบาล” ควรทำอย่างไร? เพื่อให้เหตุการณ์สงบ
อันดับ 1          ไม่ว่าจะดำเนินการใดๆ รัฐบาลจะต้องยึดหลักของกฎหมายและหลักของมนุษยธรรมควบคู่กัน                32.41%
อันดับ 2          กำชับเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการไม่ให้ใช้อาวุธที่รุนแรงหรือก่อให้เกิดความสูญเสียได้                    24.29%
อันดับ 3          หาคนกลางหรือตัวแทนฝ่ายรัฐบาลเข้าไปเจรจากับแกนนำเสื้อแดงอีกครั้ง                             18.30%
อันดับ 4          ต้องใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างมากในการควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดความรุนแรง                      14.21%
อันดับ 5          สร้างความเข้าใจและมีการชี้แจงถึงเหตุผลต่างๆในการดำเนินการกับการชุมนุมเป็นระยะๆ                10.79%

4.          “ฝ่ายเสื้อแดง” ควรทำอย่างไร? เพื่อให้เหตุการณ์สงบ
อันดับ 1          ผู้ที่เป็นแกนนำจะต้องควบคุมดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมให้อยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย                        47.58%
อันดับ 2          ไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง หรือพูดจาในลักษณะยั่วยุ ปลุกระดมให้ผู้ชุมนุมเกิดความโกรธแค้น                    23.04%
อันดับ 3          ขอความร่วมมือจากผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้อาวุธที่รุนแรงหรือก่อให้เกิดความสูญเสียได้                         19.72%
อันดับ 4          ยุติการชุมนุมหรือถ้าจะชุมนุมต่อไปก็จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด                  9.66%

5.          “ประชาชน” ควรทำอย่างไร? เพื่อให้เหตุการณ์สงบ
อันดับ 1          ไม่ออกมาเคลื่อนไหวหรือเข้าร่วมการชุมนุมต่างๆ                                              33.48%
อันดับ 2          มีสติ /รับฟังข้อมูลข่าวสารหลายๆด้าน พิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน                                30.12%
อันดับ 3          อยากให้ญาติพี่น้องของผู้ชุมนุมติดต่อหรือขอร้องให้กลับบ้าน /เลิกเข้าร่วมการชุมนุม                      15.39%
อันดับ 4          สวดมนต์ ขอพร ให้สิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายคุ้มครอง ปกปักษ์รักษาประเทศชาติและคนไทยให้ผ่านพ้นวิกฤต
                ทางการเมืองครั้งนี้ไปได้ด้วยดี                                                           14.20%
อันดับ 5          ไม่แสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยเรื่องการเมืองในที่สาธารณะ                                       6.81%

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ