สวนดุสิตโพลล์: “ครู” กับ “การมีวิทยฐานะ

ข่าวผลสำรวจ Monday September 6, 2010 08:18 —สวนดุสิตโพล

** เกือบ 50% พบว่าการที่ครูมีวิทยฐานะเพิ่มมากขึ้น มีผลอยู่มากที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษารอบสองสำเร็จได้ ในขณะที่เห็นว่าค่อนข้างมีผลมีถึง 41.06% **

รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดีและประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยว่า การพัฒนาคุณภาพของครูยุคใหม่ เป็นประเด็นสำคัญที่การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยเฉพาะครูได้มีการกำหนดวิทยฐานะ นับตั้งแต่ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งครูจะต้องมีการถูกประเมินทั้งในด้านคุณภาพ ในการจัดการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนรวมทั้ง สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่มุ่งประโยชน์ให้เกิดกับผู้เรียนรู้เป็นสำคัญ เพื่อสะท้อน กรณี ครู กับการมีวิทยฐานะ ในทัศนะของครู นักเรียน และ ประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นจากบุคคลดังกล่าวกระจายทั่วประเทศ จำนวน 1,348 คน ระหว่าง วันที่ 1-3 กันยายน 2553 ได้ดังนี้

1. ทำไม ? ครูจึงต้องมีวิทยฐานะ
อันดับ 1          เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับครู /ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น                                 41.78%
อันดับ 2          เป็นการพัฒนาครูให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ /เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง                        23.14%
อันดับ 3          แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ /ความสามารถของครู /เป็นการการันตีความรู้ของครูอย่างหนึ่ง          13.29%
อันดับ 4          เพื่อยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้น                                                     11.56%
อันดับ 5          เพื่อครูจะได้มีการถูกประเมินทั้งในด้านคุณภาพและการจัดการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียน              10.23%

2. ความเชื่อมั่นต่อครูที่มีวิทยฐานะว่าจะสามารถสอนให้มีประสิทธิภาพได้
อันดับ 1          เชื่อมั่นอยู่บ้าง          53.90%

เพราะ เป็นการรับรองได้ว่าผู้เรียนจะได้รับการสอน การถ่ายทอดความรู้ที่ดี มุ่งประโยชน์แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ฯลฯ

อันดับ 2          เชื่อมั่นมาก            38.96%

เพราะ การได้มาซึ่งวิทยฐานะจะต้องพิสูจน์ความรู้ความสามารถด้วยผลงานทางวิชาการ การปฏิบัติงาน และการพัฒนาตนให้เป็นที่ยอมรับโดยผ่านเกณฑ์การประเมินที่ได้กำหนดไว้ ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยเชื่อมั่น           4.54%

เพราะ หากได้วิทยฐานะมาเป็นเครื่องรับรองแต่ไม่สามารถสอนให้เด็กเข้าใจได้ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด? ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่เชื่อมั่นเลย           2.60%

เพราะ ครูบางท่านไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทำวิทยฐานะ มีการจ้างให้ผู้อื่นทำแทน ,ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงของครูมากกว่า ฯลฯ

3. ครูที่มีวิทยฐานะมีผลต่อการสอนเด็กให้มีความรู้และประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1          ค่อนข้างมีผล           51.33%

เพราะ ครูทุกคนจะต้องถูกประเมินในด้านต่างๆ เพื่อดูว่าครูจะสามารถสร้างสรรค์ ถ่ายทอดการเรียนรู้ให้เด็กได้มากน้อยเพียงใด ฯลฯ

อันดับ 2          มีผลอยู่มาก            42.67%

เพราะ ครูที่ได้วิทยฐานะล้วนมีประสบการณ์ ความสามารถมาก มีทักษะในด้านวิชาชีพเป็นอย่างดี , ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรง ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยมีผล             4.67%

เพราะ การเป็นครูที่ดีขึ้นอยู่กับความรักในวิชาชีพ การดูแลเอาใจใส่ การถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญฯลฯ

อันดับ 4          ไม่มีผลเลย             1.33%

เพราะ ครูบางท่านเป็นครูมานานได้รับความเคารพจากลูกศิษย์และครูมากมาย แต่ไม่ได้รับวิทยฐานะ ฯลฯ

4. การที่ครูมีวิทยฐานะเพิ่มมากขึ้น มีผลต่อความสำเร็จต่อการปฏิรูปการศึกษารอบสองหรือไม่?
อันดับ 1          มีผลอยู่มาก            48.34%

เพราะ วิทยฐานะเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สร้างความมั่นใจให้กับทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีครูมีวิทยฐานะมากก็ยิ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษามากขึ้น ฯลฯ

อันดับ 2          ค่อนข้างมีผล           41.06%

เพราะ เป็นการยกระดับความรู้ของครูให้เป็นที่ยอมรับของสังคม สร้างความมั่นใจให้กับองค์กร ผู้ปกครองและผู้เรียน ฯลฯ

อันดับ 3          ไม่ค่อยมีผล             8.93%

เพราะ การปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และที่สำคัญครูบางท่านเก่ง มีฝีมือแต่ไม่ได้รับวิทยฐานะก็มี ฯลฯ

อันดับ 4          ไม่มีผลเลย             1.67%

เพราะ ที่ผ่านมายังพบเห็นและได้ยินปัญหาเกี่ยวกับการขอวิทยฐานะอยู่ตลอด ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป ฯลฯ

--สวนดุสิตโพล--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ