การนำส่งและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศสำนักงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday March 1, 2007 11:28 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                                            1   มีนาคม  2550
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ทุกประเภท
ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทุกประเภท
ที่ กลต.ธ/น. (ว) 10/2550
เรื่อง การนำส่งและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศสำนักงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการ
บริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
สืบเนื่องจากประเทศไทยจะต้องรับการประเมินความพร้อมภายใต้โครงการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล (Report on the Observance of Standards and Codes : ROSCs) โดยผู้เชี่ยวชาญจาก World Bank (WB) และ International Monetary Fund (IMF) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 และก่อนหน้านี้สำนักงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งได้มีหนังสือที่ กลต.ธ/น.(ว) 47/2549 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เวียนแจ้งหลักการร่างประกาศเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมการและถือปฏิบัติไปพลาง ๆ ก่อน รวมทั้งเพื่อซักซ้อมแนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน นั้นบัดนี้
สำนักงานได้รับแจ้งจากสำนักงาน ปปง. ว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 คณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามมาตรา 25 (1) ของ พ.ร.บ.ฟอกเงิน ได้ให้ความเห็นชอบ "มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เรื่อง นโยบายการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงิน และหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน" สำนักงานจึงขอเรียนดังนี้
1. ขอนำส่งประกาศที่ สธ/น/ย/ข. /2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ลงวันที่ มีนาคม 2550 (สิ่งที่ส่งมาด้วย 1) มาเพื่อถือปฏิบัติ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ มีนาคม 2550 เป็นต้นไป(สรุปหลักการประกาศและแผนภูมิในการทำ KYC/CDD และ ongoing KYC/CDD ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 และ 3 ตามลำดับ)
2. สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และเข้าร่วมประเมินภายใต้โครงการ ROSCs รวมทั้งความจำเป็นในการทำการค้ากับนานาประเทศ จึงจำเป็นที่มาตรการในเรื่องนี้จะต้องใช้บังคับกับสถาบันการเงินทุกประเภทอย่างทัดเทียมกัน ทั้งในและต่างประเทศ ยกเว้น ในส่วนที่เป็นรายละเอียดสำหรับธุรกรรมการเงินแต่ละประเภท ดังนั้น สำนักงานจึงได้ยกร่างประกาศตามที่กล่าวในข้อ 1. ตามแนวทางในกฎหมายฟอกเงิน มาตรการของสำนักงาน ปปง. ข้อแนะนำของ Financial Action Task Force on Money Laundering (FATF) และแนวทางที่กำหนดโดย International Organization of Securities Commission (IOSCO)
3. ประกาศที่กล่าวบังคับใช้กับบริษัทหลักทรัพย์สำหรับการทำธุรกิจทุกประเภท ได้แก่ การเป็นนายหน้า ค้าหลักทรัพย์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ไม่รวมนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาการลงทุน ตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ และที่ปรึกษาการเงิน
4. สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แต่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานโดยตรง ให้ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือแนวทางที่กำหนดโดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลหลัก เช่น ธนาคารพาณิชย์ให้ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือแนวทาง
ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ สำหรับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำนักงานจะดำเนินการออกประกาศในลักษณะเดียวกันนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้สำนักงานจึงขอความร่วมมือให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด
โดยสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ไปพลาง ๆ ก่อน
5. สำหรับรายละเอียดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในประกาศสำนักงานตามที่กล่าวในข้อ 1. ให้บริษัทหลักทรัพย์ถือปฏิบัติตามแนวทางที่ออกโดยสมาคมที่เกี่ยวข้องกับตน ได้แก่ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (ASCO) หรือสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) แล้วแต่กรณี โดยสำนักงานจะยึด
แนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นหลักในการเข้าตรวจสอบบริษัทหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี บริษัทหลักทรัพย์สามารถเลือกใช้แนวทางอื่นที่ตนเห็นว่าเหมาะสมกว่าก็ได้ แต่จะต้องสามารถชี้แจงหรือแสดงต่อสำนักงานได้ว่าแนวทางดังกล่าวทำให้บรรลุเจตนารมณ์ของมาตรการนี้ได้อย่างทัดเทียมกัน
6. ในกรณีที่บริษัทหลักทรัพย์จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือมาตรการเกี่ยวกับ AML/CFT ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการกำกับดูแลหรือหรือที่กำหนดโดยหน่วยงานอื่น ทั้งในหรือต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ควรยึดปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือแนวทาง ที่เข้มงวดกว่าหรือมีเนื้อหาที่ครอบคลุมมากกว่า โดยพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป
อนึ่ง ในกรณีที่มีข้อสงสัย สำนักงานได้จัดทำคำถามและคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อเป็นแนวทางในการตีความและถือปฏิบัติ โดยเปิดเผยไว้ในเว็ปไซต์ของสำนักงานภายใต้หัวข้อ FAQ — กลุ่ม การปราบปรามการฟอกเงิน เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่หมายเลขต่อไปนี้
ฝ่ายกำกับธุรกิจนายหน้าและค้าหลักทรัพย์
นางณัฐฐิรา จิรเสวีนุประพันธ์ โทรศัพท์ 0-2695-9562 หรือ email : nattira@sec.or.th
นายสิทธิ์ สุนทรายุทธ โทรศัพท์ 0-2263-6048 หรือ email : sid@sec.or.th
ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
นางสาวมยุรี ผาสุพันธ์ โทรศัพท์ 0-2695-9543 หรือ email : mayuree@sec.or.th
นางสาวศุภรา ผ่องศรี โทรศัพท์ 0-2263-6040 หรือ email : subhara@sec.or.th
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
ส่งที่ส่งมาด้วย
1. สำเนาประกาศที่ สธ/น/ย/ข. 3 /2550 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ลงวันที่ 1 มีนาคม 2550
2. สรุปสาระสำคัญของประกาศสำนักงาน
3. แผนภูมิในการทำ KYC/CDD และ ongoing KYC/CDD
ฝ่ายกำกับธุรกิจนายหน้าและค้าหลักทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2695-9562
โทรสาร 0-2695-9769
ฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน
โทรศัพท์ 0-2695-9543
โทรสาร 0-2695-9752
สิ่งที่ส่งมาด้วย 2
สรุปสาระสำคัญร่างหลักการประกาศสำนักงานเรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดสามารถใช้การทำธุรกรรมหลักทรัพย์หรือบริการที่ได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอกเงินและการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของตลาดทุนของประเทศโดยรวม
1.2 เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์ให้ความสำคัญโดยจัดให้มีมาตรการที่เพียงพอในการป้องกันการฟอกเงิน รวมทั้งจัดให้มีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติฝ่าฝืนหรือไม่ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายฟอกเงิน การถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวหรือสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน และการต้องร่วมรับผิดในฐานะตัวการร่วมหรือผู้สนับสนุนหากพบว่าธุรกรรมของลูกค้าเกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐาน การฟอกเงิน หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
2. บุคคลที่ใช้บังคับ
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สำหรับการทำธุรกิจทุกประเภท ได้แก่ การเป็นนายหน้า ค้าหลักทรัพย์ การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล แต่ไม่รวมนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ที่ปรึกษาลงทุน ตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์ และที่ปรึกษาการเงิน
3. สรุปหลักการที่สำคัญ
3.1 ระบบการบริหารความเสี่ยง
* บล. ต้องจัดให้มีนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์เป็นช่องทางในการฟอก
เงิน โดยนโยบายดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทและขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องมีราย
ละเอียดเพียงพอที่จะถือปฏิบัติได้จริง
* บล. ต้องจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรเป็นประจำ
* บล. ต้องจัดให้มี anti-money laundering officer เพื่อให้คำปรึกษา ติดตาม และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามี
การปฏิบัติตามตามกฎหมาย ประกาศฉบับนี้ แนวทางของสมาคม นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของบริษัท
3.2 กระบวนการรู้จักลูกค้าและการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า(Know-Your-Customer/ Client
Due Diligence : KYC/CDD)
* บล. ต้องทำ KYC/CDD โดยระบุให้ได้ถึงบุคคลที่ได้รับประโยชน์และบุคคลที่มีอำนาจควบคุมหรือตัดสินใจในทอดสุดท้าย
ทั้ง (1) เมื่อลูกค้าเปิดบัญชี และ (2) ตลอดช่วงเวลาที่ลูกค้ามีการทำธุรกรรมกับบริษัท (on-going KYC/CDD)
* จะต้องจัดกลุ่มเพื่อทำ KYC/CDD ตามระดับความเสี่ยงของลูกค้าเกี่ยวกับการฟอกเงิน
* บล. จะต้องจัดให้มีระบบฐานข้อมูลหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเข้าถึงฐานข้อมูลที่เพียงพอ รวมทั้งจะต้องทำการ
ติดตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยผ่านสื่อต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดกลุ่มลูกค้าและการทำ KYC/CDD
* กรณีที่ปรากฏว่าลูกค้า บุคคลที่ได้รับประโยชน์หรือบุคคลมีอำนาจควบคุมการทำธุรกรรมในทอดสุดท้าย เป็นบุคคลดังต่อไป
นี้ จะต้องจัดเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษและทำ KYC/CDD ในระดับที่เข้มงวดกว่าปกติ
- เป็นบุคคลที่กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน (รวมการก่อการร้าย) ทั้งตามกฎหมายไทยหรือต่าง
ประเทศ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตามแนวทางที่ ปปง. กำหนด
- เป็นบุคคลที่มีสถานะหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมือง ทั้งไทยหรือต่างประเทศ ตามแนวทางที่ ปปง. กำหนด
รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามแนวทางที่ ปปง. กำหนด
- มีสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ แหล่งที่มาของเงินทุน การจัดตั้ง สถานที่ติดต่อ หรือสถานที่ประกอบธุรกิจ อยู่ในเขตดินแดนหรือ
ประเทศที่ไม่ได้ประยุกต์ใช้ข้อแนะนำของ FATF หรือประเทศในกลุ่ม NCCTs ทั้งนี้ ตามแนวทางที่ ปปง. กำหนด
- นิติบุคคลที่มีโครงสร้างการถือหุ้นหรือการบริหารงานที่ซับซ้อน
- กองทุนต่างประเทศที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือผ่านการอนุมัติจากทางการ
- ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดส่งเอกสารหรือจัดส่งเอกสารที่มีข้อพิรุธ
- เคยถูก บล. นั้นรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย (STR)
- ประกอบอาชีพหรือธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงตามแนวทางที่ ปปง. กำหนด
- ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษตามที่ ปปง. หรือสมาคมกำหนด
* กรณีดังต่อไปนี้อาจถือเป็นลูกค้ากลุ่มที่มีระดับความเสี่ยงต่ำและทำ KYC/CDD ในระดับที่เข้มงวดน้อยกว่าปกติได้
- ข้อมูลเกี่ยวกับความมีตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ผู้รับผลประโยชน์ และผู้ที่มีอำนาจควบคุมได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน
อย่างเพียงพอแล้ว
- สถาบันการเงินหรือกองทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทางการที่มีมาตรฐานการกำกับดูแลสอดคล้องตามมาตรฐาน
สากล และ บล. ได้ทำการประเมินจนมั่นใจแล้วว่าสถาบันการเงินหรือกองทุนดังกล่าวมีการทำ KYC/CDD อย่าง
รัดกุม
- ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
- อื่นๆ ตามที่สมาคมกำหนด
* ต้องไม่ยินยอมให้ลูกค้าใช้ชื่อปลอมหรือใช้ชื่อแฝงในการเปิดบัญชี
* กรณีสถาบันการเงินที่เปิดบัญชีประเภท omnibus account อาจไม่ต้องทำ KYC/CDD ไปจนถึงระดับของลูกค้าที่อยู่
ภายใต้บัญชีดังกล่าว แต่ในกรณีที่เป็นสถาบันการเงินต่างประเทศต้องจัดให้มีการประเมินความรัดกุมเพียงพอของการ
ทำ KYC/CDD ของสถาบันการเงินดังกล่าว และต้องเสนอขออนุมัติเปิดบัญชีต่อผู้บริหารระดับสูง
* บล. ไม่สามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินอื่นทำ KYC/CDD แทนตน ยกเว้น เฉพาะในส่วนที่เป็นการพบลูกค้า
(face-to-face meeting) เมื่อลูกค้ามีการเปิดบัญชีหรือเริ่มทำธุรกรรม แต่จะต้องจัดให้มีการดำเนินการตาม
เงื่อนไขที่กำหนด (third party reliance)
* การทำ on-going KYC/CDD จะต้องประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
(1) การทบทวนข้อมูลเดิมของลูกค้าตามรอบระยะเวลาตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า
(2) การทบทวนและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเพิ่มเติมโดยเร็วเมื่อรู้หรือเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนด เช่น เมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงของธุรกรรมหรือการชำระเงินอย่างมีสาระสำคัญ เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้า เป็นต้น
(3) การตรวจสอบรายชื่อลูกค้ากับระบบฐานข้อมูลตามรอบระยะเวลาที่กำหนด
* จะต้องทำ KYC/CDD ลูกค้าที่มีอยู่เดิมให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปีนับจากประกาศมีผลใช้บังคับ ยกเว้น ลูกค้ากลุ่มที่ต้องให้
ความสนใจเป็นพิเศษซึ่งจะต้องดำเนินการให้เร็วขึ้นตามระยะเวลาที่สมาคมกำหนด
3.3 การรายงาน STR
* บล. จะต้องมีการกำหนดรูปแบบธุรกรรมที่ควรรายงาน STR ให้ชัดเจน โดยอาจอ้างอิงตัวอย่างที่สำนักงาน ก.ล.ต.
กำหนด
* จัดให้มีระบบและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการติดตามและรายงาน STR อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
* มีมาตรการป้องกันไม่ให้มีการนำข้อมูลการรายงาน STR ไปบอกลูกค้าหรือผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
3.4 การจดบันทึกและจัดเก็บเอกสารหลักฐาน
* ต้องจดบันทึกและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำ KYC/CDD และการรายงาน STR ไว้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับ
แต่วันที่ลูกค้าปิดบัญชี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ