(ต่อ4) การลงทุนและการมีไว้เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday July 17, 2006 09:30 —ประกาศ ก.ล.ต.

           ให้บริษัทจัดการจัดทำรายงานโดยระบุชื่อ จำนวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กำหนด พร้อมทั้งจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่การรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นเป็นผลให้กองทุนรวมเป็นผู้ถือหุ้น
ของบริษัทใดเกินอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ 60 ให้บริษัทจัดการดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศที่กำหนดให้บริษัทจัดการสามารถรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นได้
(2) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นจำนวนที่เกินอัตราส่วนการลงทุนดังกล่าว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นและสมควรโดยได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน และ
(3) กรณีที่เป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียน และการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัทดังกล่าว เป็นผลให้กองทุนได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อ บริษัทจัดการต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับการยกเว้นการทำคำเสนอซื้อโดยการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอำนาจควบคุม หรือยื่นคำขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ ทั้งนี้ การลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว ให้บริษัทจัดการลดสัดส่วนตามสัดส่วนของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่แต่ละกองทุนได้มาจากการรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่น
ข้อ 103 ในกรณีที่ทรัพย์สินในขณะที่ลงทุนหรือในขณะที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของกองทุน มีมูลค่าไม่เกินอัตราส่วนที่กำหนดในภาค 2 นี้ หากต่อมามีมูลค่าเกินอัตราส่วนดังกล่าวโดยไม่เข้าลักษณะตามข้อ 97 ถึงข้อ 102 และการเกินอัตราส่วนดังกล่าวมิได้เกิดจากการลงทุนหรือได้ทรัพย์สินมาเพิ่มเติม บริษัทจัดการจะยังคงมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปก็ได้
ให้บริษัทจัดการจัดทำรายงานโดยระบุชื่อ จำนวน อัตราส่วนการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และวันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กำหนดพร้อมสาเหตุ และส่งรายงานดังกล่าวให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวม คณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลรายย่อย แล้วแต่กรณี ทราบภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าเกินอัตราส่วนที่กำหนด พร้อมทั้งจัดทำสำเนารายงานดังกล่าวไว้ที่บริษัทจัดการเพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้
ภาค 3
บทเฉพาะกาล
_______________________
ข้อ 104 ในกรณีที่บริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่ไม่เป็นไปตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศนี้อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากมีการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินนั้นไว้ได้
เพียงเท่าจำนวนที่เหลือนั้น
ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับตราสารแห่งหนี้ที่เสนอขายในประเทศ หรือมีผู้ออกหรือคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่ไม่เป็นไปตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ซึ่งกองทุนได้มาซึ่งตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวหลังวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ข้อ 105 ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากบริษัทจัดการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนเป็นไปตามอัตราส่วนที่กำหนดในประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ยังใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่เกินอัตราส่วนการลงทุนที่กำหนด
ในประกาศนี้ บริษัทจัดการจะยังคงไว้ซึ่งการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวต่อไปได้ แต่หากทรัพย์สินอื่นนั้นเป็นตราสารที่มีกำหนดอายุซึ่งได้หมดอายุลงหรือได้มีการจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไปเท่าใด บริษัทจัดการอาจคงทรัพย์สินอื่นนั้นไว้ได้เพียงจำนวนที่เหลือ
ข้อ 106 ในกรณีบริษัทจัดการได้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินของ 16 สถาบันการเงินเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และ
บัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการธนาคารกรุงไทยรับแลกเปลี่ยนตั๋วบริษัทเงินทุน 42 บริษัท (คปต.42) เพื่อเป็นทรัพย์สินของกองทุน มิให้บริษัทจัดการนับทรัพย์สินดังกล่าวรวมในอัตราส่วนตามข้อ 54 ข้อ 57 ข้อ 58 ข้อ 59(1) และข้อ 61
ข้อ 107 ในกรณีที่กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมกับสำนักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ มีรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ หรือในกรณีที่ข้อสัญญาในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลมีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีของกองทุนรวมปิดและกองทุนส่วนบุคคล ให้บริษัทจัดการยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมต่อสำนักงาน หรือดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ ภายในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้
(2) ในกรณีของกองทุนรวมเปิด ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ต่อสำนักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 108 ในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมแล้ว แต่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หรือในกรณีที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็น
กองทุนรวมกับสำนักงานก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากรายละเอียดของโครงการจัดการกองทุนรวมดังกล่าวขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ยังมิได้เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ต่อสำนักงาน ก่อนการเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนในครั้งแรก
(2) ในกรณีที่เสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสำนักงาน ให้บริษัทจัดการกองทุนรวมยื่นขอความเห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดแห่งประกาศนี้ต่อสำนักงาน ภายหลังจากที่ได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมต่อสำนักงาน แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
(นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล)
เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หมายเหตุ : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อให้บริษัทจัดการลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือ
ทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการหาดอกผลโดยวิธีอื่น ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและวัตถุประสงค์ทั้งของกองทุน
รวมและกองทุนส่วนบุคคล โดยการลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินของกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคลจะต้องอยู่ภายใต้หลักการกระจาย
ความเสี่ยง สำนักงานโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงเห็นสมควรกำหนดประเภทหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วง
หน้า ทรัพย์สินอื่นและการหาดอกผลโดยวิธีอื่นที่กองทุนอาจลงทุนหรือมีไว้ได้ รวมทั้งกำหนดอัตราส่วนการลงทุนและการมีไว้ซึ่งทรัพย์สิน
ดังกล่าวสำหรับกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย เพื่อให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนมากยิ่ง
ขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ