พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 30 กันยายน 2554 - 06 ตุลาคม 2554

ข่าวทั่วไป Friday September 30, 2011 15:09 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 กันยายน 2554 - 06 ตุลาคม 2554

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 ก.ย., 3-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 1-2, 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

  • พื้นที่การเกษตรทางตอนบนของภาคที่ถูกน้ำท่วม หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรฟื้นฟูพืชและแหล่งน้ำที่ได้รับความเสียหายให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคซึ่งยังมีน้ำท่วมขังอยู่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพและระวังโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 ก.ย., 3-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 1-2, 5-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %

  • สภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ในข้าว และโรคราน้ำค้างในข้าวโพด
  • ส่วนสัตว์เลี้ยง เช่น โคและกระบือ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะอาจเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยได้
ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85%

  • ในช่วงวันที่ 2-6 ต.ค. จะมีฝนตกชุก ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นและสภาวะน้ำท่วมยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากจากระดับน้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้น
  • สำหรับบริเวณที่ไม่ถูกน้ำท่วม เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราระบาดในพืชไร่และพืชผัก เกษตรกรควรป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว
ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ เกือบตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 1-6 ต.ค. มีฝนตกหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 %

  • พื้นที่การเกษตรในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง เมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
  • บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
  • ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 %
  • ฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 %
  • ทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกชุก สภาพอากาศชุ่มชื้น ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดความชื้น ป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาว ประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ