ระหว่าง 08 กรกฎาคม 2556 - 14 กรกฎาคม 2556
ภาคเหนือ
ในวันที่ 8-11 และวันที่ 14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
- ในช่วงนี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม
- ในช่วงนี้ จะมีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ในระยะต่อไป นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในวันที่ 8-10 และวันที่ 13-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้มีฝนตกชุก นาข้าวที่อยู่ระหว่างเพาะกล้า และปักดำ ชาวนาควรระวังการระบาดของโรคไหม้ในกล้าข้าว และหนอนกระทู้กล้าซึ่งมักระบาดหลังจากมีฝนตกหนัก โดยเฉพาะในตอนล่างของภาค
- ในช่วงนี้ จะมีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ในระยะต่อไป นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคกลาง
ในวันที่ 8-10 และวันที่ 13-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้ฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกพืชผักควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด
- บริเวณที่มีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ในระยะต่อไป นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 8-10 และวันที่ 13-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
- ระยะนี้ จะมีฝนตกชุก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรในระยะต่อไป
- ไม้ผลที่อยู่ระหว่างเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวสวนควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งหมั่นตรวจสวน อย่าปล่อยให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้น และรากพืช เพราะหากเกิดภาวะน้ำท่วมขังในสวนเป็นเวลานานจะทำให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 8-11 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
- ในระยะนี้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน
- ส่วนไม้ผลที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ชาวสวนควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 8-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค เว้นแต่ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
- ในระยะนี้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตร สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน -
ส่วนไม้ผลที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง ชาวสวนควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
- ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74