พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 กรกฎาคม 2556 - 18 กรกฎาคม 2556

ข่าวทั่วไป Monday July 15, 2013 06:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 กรกฎาคม 2556 - 18 กรกฎาคม 2556

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนเพิ่มขึ้น สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไม่ให้อับชื้น หรือมีฝนสาดเข้าไปได้ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้
  • สำหรับลำไยที่กำลังให้ผลผลิต เนื่องจากขณะมีฝนตกหนักจะมีลมพัดแรง ชาวสวนควรตรวจสอบวัสดุที่ใช้ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งหักและผลผลิตเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้าถึงปักดำ ชาวนาควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้และโรคใบขีดสีน้ำตาล
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เช่น โคและกระบือ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผักไว้ด้วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนตกชุกและฝนตกหนัก เกษตรกรควรจัดระบบการระบายน้ำในแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังผิวดินบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินและโรครากเน่า โคนเน่าได้
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 14 - 18 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • ฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 12-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
  • ทางตอนล่างของฝั่งตะวันออกจะมีฝนไม่มากและอาจไม่เพียงพอกับพืชที่กำลังเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช รวมทั้งคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • ในช่วงวันที่ 14-18 ก.ค. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตก และบริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ