ระหว่าง 15 กรกฎาคม 2556 - 21 กรกฎาคม 2556
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้าถึงปักดำ ชาวนาควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้และโรคใบขีดสีน้ำตาล
- บริเวณที่มีฝนตกหนัก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรระวังป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนตกจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง สัตว์น้ำอาจปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่ง อย่าให้อับชื้น รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
- ส่วนเกษตรกรที่ปลูกพืชผักควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด และโรคผลเน่าในพริก และมะเขือ
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 15-18 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 19-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้มีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผักไว้ด้วย
- สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้มีฝนตกชุก และฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรจัดระบบการระบายน้ำในแปลงปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังผิวดินบริเวณโคนต้นพืช เพราะจะทำให้เกิดโรคเน่าคอดินและโรครากเน่า โคนเน่าได้
- ส่วนชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน
- ในช่วงวันที่ 15 - 21 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส - สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา และสวนไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
- สัปดาห์นี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
- สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพารา และสวนไม้ผลควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นภายในสวน
- ในช่วงวันที่ 15-21 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74