พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 มกราคม 2557 - 23 มกราคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday January 20, 2014 07:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 มกราคม 2557 - 23 มกราคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-20 ม.ค. อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-5 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-5 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอยางเพียงพอ
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรทำแผงกำบังลมหนาว และให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงในโรงเรือนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำมาก เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยงที่อ่อนแอเสียชีวิตได้

-ส่วนบริเวณยอดดอยจะมีอากาศหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อเพิ่มอุณหภูมิดินมิให้ต่ำเกินไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-18 ม.ค. อากาศหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-28 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 7-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-27 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศที่หนาวเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ หากขาดความอบอุ่นจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ง่ายเ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทำแผงกำบังลมหนาวและควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง และน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ฟางข้าวและญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชผัก

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

-เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆครั้ง หรือให้น้ำพืชในเวลาเย็นเพื่อลดการระเหยของน้ำ

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือน อย่าให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย หากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มเพื่อรักษา ป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

-ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดลดปริมาณอาหารลงเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย หากโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 11-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-30 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณเทือกเขาอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

-สำหรับมะม่วงที่อยู่ในระยะออกดอก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของราดำ หากพบโรคดังกล่าวควรฉีดพ่นด้วยน้ำจะทำให้การระบาดลดลง

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่และไม้ผล ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
  • ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 17-18 ม.ค. ทางตอนบนของภาค มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่จังหวัด นครศรีธรรมราชลงมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

-ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

  • ระยะนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

-ส่วนทางตอนล่างของภาคแม้ปริมาณฝนจะลดลงกว่าระยะที่ ผ่านมา แต่ความชื้นภายในดินยังมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคเพื่อไม่ให้แพร่ไปยังต้นอื่นๆ

-ในช่วงวันที่ 18-22 ม.ค.บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่งที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 17-18 ม.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

-ระยะนี้ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

-สำหรับพื้นที่ซึ่งสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

  • ระยะนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

-ส่วนทางตอนล่างของภาคแม้ปริมาณฝนจะลดลงกว่าระยะที่ ผ่านมา แต่ความชื้นภายในดินยังมีสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคราสีชมพูในยางพารา เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรคเพื่อไม่ให้แพร่ไปยังต้นอื่นๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ