พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 มิถุนายน 2557 - 10 มิถุนายน 2557

ข่าวทั่วไป Thursday June 5, 2014 06:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มิถุนายน 2557 - 10 มิถุนายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย จะมีฝนตกชุก สภาพอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างและโรคใบจุด รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งอย่าให้หลังคารั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนบนของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย จะมีฝนเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชไร่ที่อยู่ระยะเจริญเติบโต และช่วยลดการระบาดศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยชนิดต่างๆ
  • สำหรับแปลงนาที่อยู่ในระยะเพาะต้นกล้า ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนกระทู้กล้าข้าว ซึ่งจะกัดกินใบ และลำต้น ทำให้ต้นกล้าเสียหายได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่งและทำความสะอาด เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์เท้ากีบอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น สภาพอากาศ มีความชื้นสูง ชาวสวนกล้วยไม้ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนชาวนาที่กำลังจะเริ่มเพาะกล้าไม่ควรตกกล้าให้แน่นเกินไปเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ในข้าวนาปี
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชผักและอยู่ในระยะเจริญเติบโตควรระวังการระบาดของหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งมักระบาดในช่วงสภาพอากาศมีความชื้นสูง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. จะมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปและมีฝนตกหนักบางแห่ง สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วควรตัดแต่งกิ่ง รวมทั้งกำจัดวัชพืช และดูแลบริเวณสวนให้โล่งเตียน อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในระยะนี้จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง พื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ในระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งจัดเตรียมทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก ขุดลอกคูคลอง เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 - 3 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและในช่วงวันที่ 8-10 มิ.ย. เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 7-10 มิ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 4-5 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • ในระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรตรวจสอบและดูแลอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งจัดเตรียมทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก ขุดลอกคูคลอง เพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ในช่วงวันที่ 6-10 มิ.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 - 3 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและในช่วงวันที่ 8-10 มิ.ย. เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ