พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 มิถุนายน 2557 - 12 มิถุนายน 2557

ข่าวทั่วไป Monday June 9, 2014 08:28 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 มิถุนายน 2557 - 12 มิถุนายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากในระยะปลายเดือนนี้ปริมาณและการกระจายของฝนอาจจะลดลง
  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ลิ้นจี่และมะม่วง เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งกำจัดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝัง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ดอกควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบจุดในกุหลาบ เบญจมาศ และดาวเรือง เป็นต้นและหากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะ เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
  • สำหรับช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำฝนเพื่อไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนอาจจะลดลงในช่วงปลายเดือน
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะ ทำให้ความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกมาก ซึ่งทำให้เป็นโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกชุกพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูกพืช
  • นอกจากนี้ศัตรูของสัตว์เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันไม่ให้มารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะอาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรระวังอย่าให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เช่น ทุเรียนและมะม่วง เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ต้นได้พักตัว และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งกำจัดเปลือกและผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคเน่าในสัปปะรด โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 6-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ภาคใต้ฝั่งตะวันออกไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรตัดแต่งผลโดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดเกินไป ผลที่บิดเบี้ยว ผลที่มีศัตรูพืชทำลายทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำของผลอื่นๆ
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชสวนควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้ความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
  • ในช่วงวันที่ 8-12 มิ.ย.ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 8-12 มิ.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 8-12 มิ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-7 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

  • ภาคใต้ฝั่งตะวันออกไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรตัดแต่งผลโดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดเกินไป ผลที่บิดเบี้ยว ผลที่มีศัตรูพืชทำลายทิ้ง เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำของผลอื่นๆ
  • เกษตรกรที่ปลูกพืชสวนควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้ความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
  • ในช่วงวันที่ 8-12 มิ.ย.ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 8-12 มิ.ย. คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ