พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 กุมภาพันธ์ 2558 - 10 กุมภาพันธ์ 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday February 4, 2015 15:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 กุมภาพันธ์ 2558 - 10 กุมภาพันธ์ 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-5 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 6-9 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 13-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศยังคงหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงในโรงเรือนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ระยะนี้จะมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง ในพืชไร่และพืชผัก โรคราสนิมในไม้ดอกและกาแฟ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ส่วนช่วงที่มีหมอกหนา เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะรถที่ใช้ในการเกษตร ควรตรวจสอบสัญญานไฟหน้าและไฟท้ายให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-9 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภู มีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.หลังจากนั้น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า กับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภู มีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลากระชัง บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำลดน้อยลงมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับปลา ทำให้ปริมาณน้ำไม่เหมะสมกับจำนวนปลา ดังนั้นเกษตรกรควรทะยอยจับขายปลาที่ได้ขนาดไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากจำนวนปลาที่มากเกินไป
  • สำหรับสภาพอากาศแห้งและลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-9 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และ มีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.หลังจากนั้น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับอุณหภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืนในระยะนี้ เกษตรกรจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวรต้นตายได้

  • เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชตะกูลถั่ว และพืชผักสวนครัว เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-9 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวัน ออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร หลังจากนั้น อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยเก็บกวาดกิ่งไม้และใบไม้แห้งในสวนให้โล่งเตียน รวมทั้งทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผล ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อมิให้เป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูพืช และแย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล
  • ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า และทางตอนล่างของภาค จะมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรส่วนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

-ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้งและในระยะต่อไป

  • อนึ่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ รวมทั้งควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้งและในระยะต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ