พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 18 กุมภาพันธ์ 2558 - 24 กุมภาพันธ์ 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday February 18, 2015 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 18 กุมภาพันธ์ 2558 - 24 กุมภาพันธ์ 2558

ภาคเหนือ

อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากบริเวณตอนล่างของภาคตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียสส่วนทางตอนล่างอากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าส่วนกลางวันอากาศร้อน เกษตรกรควร รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สภาพอากาศที่แห้งเกษตรกรไม่ควรเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะไฟอาจจะลุกลามทำให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ และควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะแปรปรวน โดยมีอากาศเย็น สลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควร รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แก่ดีแล้ว และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะฝนที่ตกอาจทำให้เสียหายได้ นอกจากนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศจะเปลี่ยนแปลงทางตอนบนของภาค โดยตอนเช้าอากาศเย็นส่วนกลางวันอากาศร้อนเกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมเพื่อป้องกันต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง - สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 18-21 ก.พ. มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน และเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • สำหรับช่วงที่มีฝนตกจะช่วยบรรเทาภัยแล้งลงได้บ้าง รวมทั้งช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชไร่ไม้ผล และพืชผัก
  • นอกจากนี้เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 18-19 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 20-24 ก.พ. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัด สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อ่าวไทยตอน ล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับบางช่วงอาจมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชผัก และพืชสวน
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วงอุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาความชื้นภายในดิน
  • สำหรับบางช่วงอาจมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชผัก และพืชสวน
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูร้อนปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ