พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 กุมภาพันธ์ 2558 - 01 มีนาคม 2558

ข่าวทั่วไป Monday February 23, 2015 15:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 กุมภาพันธ์ 2558 - 01 มีนาคม 2558

ภาคเหนือ

อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 12-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้อุณหภูมิจะแตกต่างกันมากหระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับลิ้นจี่และลำไย ที่อยู่ในระยะติดผลอ่อนและเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่น หรือชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น มวนลำไย และเพลี้ยชนิดต่างๆ ที่ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิดด้อยคุณภาพ
  • นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะอาจลุกลามทำให้เกิดไฟป่าได้ และควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 24 - 27 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้เป็นช่วงต้นฤดูร้อนอากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกลางวันอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับสภาพอากาศเย็นและชื้นในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกพืชผักสวนครัว ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้าง โรคใบจุด และโรคใบด่างเป็นต้น รวมทั้งระวังป้องกันการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินต้นพืช ทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตลดลง
  • ส่วนกลางวันอากาศร้อนน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 24 - 27 ก.พ. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-สัปดาห์นี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอรวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

  • สำหรับสภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ป้องกันสัตว์เลี้ยงเครียดปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 24-27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

-สัปดาห์นี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อยไม่พอเพียงกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำแก่ไม้ผลอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ผลผลิตเสียหายและด้อยคุณภาพ

  • ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
  • เนื่องจากความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 23-27 ก.พ. มีเมฆบางส่วน ส่วนในช่วงวันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง และปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้วยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
  • เนื่องจากความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ