พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 มีนาคม 2558 - 19 มีนาคม 2558

ข่าวทั่วไป Friday March 13, 2015 16:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 มีนาคม 2558 - 19 มีนาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ลิ้นจี่และลำไย เป็นต้น ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่น ผลผลิตลดลง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในระยะนี้ ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน และหากมีน้ำเพียงพอควรฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือนในตอนกลางวัน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และควรดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อย จะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนพืชที่ปลูกใหม่ในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรทำร่มเงา หรือพรางแสง เพื่อลดความเข้มของแสง และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาอุณหภูมิดิน และลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา หากขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากขาดความสมดุล จะทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในระยะนี้ ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก และฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือนในตอนกลางวัน เพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ ทุเรียน และมังคุด เป็นต้น เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ผลร่วงหล่น ผลผลิตลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร โดยในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ทางตอนบนของภาค สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกหากเห็นดอกชัดเจนแล้ว เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ ในช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วนกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • บริเวณที่สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ ในช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ