พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 มีนาคม 2558 - 22 มีนาคม 2558

ข่าวทั่วไป Monday March 16, 2015 16:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 มีนาคม 2558 - 22 มีนาคม 2558

ภาคเหนือ

มีเมฆบางส่วน อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 21-22 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย และหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม แล้วทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เอื้อต่อการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • เกษตรกรไม่ควรเผาตอซังข้าว และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะอาจลุกลามทำให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ และควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน เกือบตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้สภาพยังร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย และไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ควรดูแลปริมาณน้ำให้เหมาะกับจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยง หากปริมาณน้ำมีน้อย จะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งควรทำร่มเงาให้แก่บ่ออนุบาล เพราะหากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้ตัวอ่อนชะงักการเจริญเติบโต
  • นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักระบาดในช่วงหน้าร้อน โดยการรักษาสุขอนามัย และรับประทานอาหารที่สะอาด

ภาคกลาง

อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน เกือบตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้จะมีอากาศร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกัน การระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตเสียหาย
  • สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนและร้อนจัดในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียดและเจ็บป่วย
  • ระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน เกือบตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สัปดาห์นี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่ ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ ทุเรียน และมังคุด เป็นต้น อย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้งระยะนี้ จะทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวร และต้นตายได้ รวมทั้งคลุมโคนต้นด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสงวนความชื้นดิน
  • นอกจากนั้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน เกือบตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้งระยะนี้ จะทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวร และต้นตายได้ รวมทั้งคลุมโคนต้นด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสงวนความชื้นดิน
  • นอกจากนั้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ