พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 มีนาคม 2558 - 02 เมษายน 2558

ข่าวทั่วไป Friday March 27, 2015 16:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 มีนาคม 2558 - 02 เมษายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 2 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศ เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจาย ยังไม่เพียงพอและยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืช ควรมีน้ำสำรองให้พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในวันที่ 28-30 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 2 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ฝนที่ตกจะช่วยเพิ่มความชื้นภายในดิน แต่เนื่องจาก การระเหยของน้ำในระยะนี้มีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
  • สำหรับฝนที่ตกจะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักลงไปได้ แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชในระยะต่อไป

ภาคกลาง

ในวันที่ 28-30 มี.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 2 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ เกษตรกรเจ็บป่วยได้หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักเป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหาย

ภาคตะวันออก

ในวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 2 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะและกัดกินผลทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝน หรือมีความชื้นสูง เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 28-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 2 เม.ย. มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยที่มากกว่าปริมาณฝนที่ตก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับดิน และควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืช และแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆใน พืชสวน และพืชผัก เป็นต้น เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจหากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด ก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยที่มากกว่าปริมาณฝนที่ตก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับดิน และควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืช และแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆใน พืชสวน และพืชผัก เป็นต้น เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจหากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด ก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ