พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่างวันที่ 04 พฤศจิกายน 2558 - 10 พฤศจิกายน 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday November 4, 2015 13:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2558 - 10 พฤศจิกายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. อากาศเย็นมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าและบางวันอาจมีฝนตก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนและน้ำค้างควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย
  • เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีลมแรง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเป็นต้นช่วงฤดูหนาว เกษตรกร ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • สำหรับข้าวนาปี ในระยะนี้ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของ ศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ หนอนกอ และหนอนห่อใบ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5 - 8 พ.ย. มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับในบางวันอาจมีฝนตก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • เนื่องจากจะมีฝนที่ในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่าง ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตกรไม่ควรตากทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8 - 10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้จะมีฝนตกในบางช่วง เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ เกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจพื้นที่เพาะปลูก หากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันการระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ช่วงนี้แม้ปริมาณฝนที่ตกจะไม่มาก แต่ความชื้นในดินบางพื้นที่ยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และตายได้
  • ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8 – 10 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก และจะมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มอาจเกิดน้ำท่วมขังได้
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน รวมทั้งไม่ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ หญ้าแห้ง และกิ่งไม้ผุ ตลอดจน เปลือกและผลไม้ที่เน่าเสีย ไว้บริเวณโคนต้นพืช เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรค และศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก และจะมีฝนตกหนักได้ในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มอาจเกิดน้ำท่วมขังได้
  • ส่วนทางฝั่งตะวันตกแม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงกว่าระยะที่ผ่านมา แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยกำจัดใบและกิ่งที่ร่วงหล่นและศัตรูพืชเข้าทำลายไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ