พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 - 01 ธันวาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday November 25, 2015 14:08 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2558 - 01 ธันวาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-30 พ.ย. มีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าบริเวณอื่น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันร่างกายสูญเสียความร้อนจนอ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย
  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะพักตัวเพื่อเตรียมแทงช่อดอก เช่น ลำไยและลิ้นจี่ เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน งดให้น้ำ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น มวนลำไย หนอนเจาะกิ่ง และหนอนคืบกินใบ ซึ่งจะทำให้ต้นเสียหาย ส่งผลต่อการออกดอกของพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 4-8 องศาเซลเซียส อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 1 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาว เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน สงวนความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 1 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น พืชผัก และพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณ แปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน สงวนความชื้นภายในดิน

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 25-28 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในระยะแรก และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย. – 1 ธ.ค. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • สำหรับทางตอนบนของภาค ที่สภาพอากาศแห้งน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อสงวนความชื้นภายในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ในช่วงวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยที่เคยประสบกับสภาวะน้ำท่วม ฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากมาก่อน
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง
  • ในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 26 - 29 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 30 พ.ย.- 1 ธ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยที่เคยประสบกับสภาวะน้ำท่วม ฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากมาก่อน
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ