พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 มกราคม 2559 - 26 มกราคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday January 20, 2016 15:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 มกราคม 2559 - 26 มกราคม 2559

ภาคเหนือ

การคาดการณ์ฝน ในช่วงวันที่ 20 - 23 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

การคาดการณ์อุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 20 - 23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส

ผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาโดยทั่วไปมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าการคายระเหยน้ำ โดยค่าสมดุลน้ำอยู่ระหว่าง (-10) ถึง (-30) มม. และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืช ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ พร้อมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การคาดการณ์ฝน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

การคาดการณ์อุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 20-22 ม.ค. อากาศเย็นและอุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 6-10 องศาเซลเซียส

ผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าการคายระเหยน้ำ โดยค่าสมดุลน้ำบริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาคอยู่ระหว่าง (-10) ถึง (-20) มม. ส่วนบริเวณจังหวัด เลย ชัยภูมิ และขอนแก่นมีค่าอยู่ระหว่าง (-20) ถึง (-30) มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีปริมาณฝนน้อยซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม โดยเฉพาะพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

การคาดการณ์ฝน ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

การคาดการณ์อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส

ผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดลพบุรีและสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ในหลายพื้นที่ปริมาณฝนที่ตกน้อยกว่าค่าการคายระเหยน้ำของพืช โดยค่าสมดุลน้ำบริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาคอยู่ระหว่าง (-10) ถึง (-20) มม. ส่วนทางตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี มีค่าอยู่ระหว่าง (-20) ถึง (-30) มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีปริมาณฝนน้อย ซึ่งจะทำให้สมดุลน้ำลดลงเรื่อยๆ เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม และใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคตะวันออก

การคาดการณ์ฝน ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่

การคาดการณ์อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส

ผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ทางตอนบนของภาค มีค่าสมดุลน้ำอยู่ระหว่าง (-10) ถึง (-20) มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย แต่ปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟในทุเรียนและมังคุด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ผลผลิตลดลงและเสียหาย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

การคาดการณ์ฝน ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง

การคาดการณ์อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

ผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักและหนักมากทำให้ปริมาณฝนที่ตกมีค่ามากกว่าค่าการคายระเหยน้ำของพืช โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาคบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา โดยมีค่าอยู่ในช่วง 40-100 มม. สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนหนักบางแห่ง เกษตรกรควรวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อยด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

การคาดการณ์ฝน ในช่วงวันที่ 20-23 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

การคาดการณ์อุณหภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

ผลกระทบด้านการเกษตร ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ทำให้ปริมาณฝนที่ตกมีค่ามากกว่าค่าการคายระเหยน้ำของพืช โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค โดยมีค่าอยู่ในช่วง 40-60 มม. สำหรับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจายตลอดช่วง เกษตรกรควรวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อยด้วย

หมายเหตุสมดุลน้ำ คือ ปริมาณฝน – ปริมาณการคายระเหยน้ำของพืช, การคายระเหยน้ำ คือ น้ำระเหย + การคายน้ำของพืช แผนที่สมดุลน้ำสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ http://www.arcims.tmd.go.th/DailyDATA/PET7day.php สำหรับแผนที่สมดุลน้ำคิดที่สถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ส่วนในบริเวณอื่นเป็นการประมาณค่า (Interpolation)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ